วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้าที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง



เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้าที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2555  กลุ่มพนักงาน aerosoft  ได้รวมกลุ่มกันประมาณ 5 6  ครอบครัว  นำข้าวปลาอาหาร, ขนมหวานคาว, รองเท้า aerosoft ( ซื้อจากบริษัทฯ ไปเอง ) และเครื่องสังฆทานต่างๆ    ไปทำบุญที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง  หลังจากนั้นเป็นการเลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กกำพร้าที่ทางวัดได้อุปการะไว้  นับเป็นครั้งที่ 2  ที่ได้เดินทางมาบริจาคสิ่งของ   และเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้าที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง







และเป็นที่น่าชื่นชมที่วันนี้มีกลุ่มจากบริษัท บีซีโพรีเมอร์ส มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท เคบี ชิปปิ้ง เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท บลิซคอนสตรัคชั่น จำกัด  โดยการนำของประธานกรรมการ, กรรมการผู้จัดการ และพนักงาน  ได้นำสังฆทานและจตุปัจจัยทำบุญถวายพระแล้ว ยังได้บริจาคสิ่งของต่างๆ อาทิเครื่องนุ่งห่ม, เวชภัณฑ์, อุปกรณ์กีฬาก็มีโต๊ะปิงปองและอุปกรณ์ต่างๆ  เป็นต้น  ยังๆ ไม่หมด ทั้งนี้ยังได้มอบ เช็คเป็นเงิน 106,389.00 บาท  เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กๆ ที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง

ส่วนทางด้านโรงเรียนสอนตัดผมแห่งหนึ่ง (ขออภัยผมจำชื่อไม่ได้) ได้นำทีม นักเรียนช่างตัดผม  มาตัดผม ฟรี ให้แก่เด็กๆ 
เป็นภาพน้ำในแม่น้ำบริเวณข้างวัดตาลเจ็ดช่อ  ที่ไหลผ่านหน้าวัดอย่างเชี่ยวกรากและน่ากลัว        เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยได้ถูกมรสุมจากประเทศจีนพัดผ่าน     ทำให้มีฝนฟ้าตกกระหน่ำอย่างรุนแรง       หลายจังหวัดต้องประกาศเตือนภัย  หลายฝ่ายเกรงว่าจะเกิดมหาอุทกภัยเหมือนปี 2554  ที่ผ่านมา  ที่วัดตาลเจ็ดช่อ      เป็นหนึ่งสถานที่ๆ ประสบภัยวิบัติ มหาอุทกภัยครั้งใหญ่   
ส่วนภาพนี้ผมถ่ายที่บริเวณหน้าหมู่บ้านรัชธานี 8  (ถ่ายจากมุมระเบียงบ้านของผมเอง) หมู่ 1 ต.บางโฉลง อ. บางพลี จ. สมุทรปราการ  ซึ่งชาวบ้านย่านนี้นอกจากจะมีอาชีพทำนาแล้ว ปัจจุบันนิยมหันมาเลี้ยงปลา  เพราะรายได้ดีกว่าทำนา  จะเห็นว่าน้ำในบ่อแห้งสนิท  เนื่องจากวิดบ่อและนำปลาไปขาย  ก่อนที่น้ำเหนือจะมาเป็นการป้องกันความเสียหาย   ถ้าเกิดน้ำท่วมขึ้นมา  ที่อื่นๆ ก็เหมือนกัน  

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวคิดการซ่อมบำรุงกับการผลิต

แนวคิดการซ่อมบำรุงกับการผลิต
ส่วนหนึ่งที่ผมตั้งใจนำเสนอบทความเกี่ยวกับการบำรุงรักษา  เพราะผมเองก็มีหน้าที่ในการบำรุงรักษา จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมได้ใช้ชีวิตคลุกคลีกับเครื่องจักรมามากกว่าครึ่งชีวิตของผม ในหลายๆ บริษัท ปัจจุบันก็ยังคงเป็นช่างซ่อมบำรุง 
ซึ่งผู้บริหาร และฝ่ายผลิต  ในหลายๆ บริษัท  นอกจากจะใส่ใจในเรื่องของการผลิตให้ได้เป้าหมายและมีคุณภาพแล้ว  การจัดการเรื่องคน กับเครื่องจักรก็สำคัญไม่น้อย  บริษัทในวงการอุตสาหกรรมโดยทั่วไป มักจะเน้นการซ่อมบำรุงในลักษณะ Preventive Maintenance  แต่จะมีไม่กี่บริษัท ที่ยังใช้ระบบ Break down Maintenance  อยู่ความหมายก็คือ การซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุดและหยุดโดยฉุกเฉิน วิธีการนี้เป็นวิธีการดั้งเดิมในการบำรุงรักษา ที่เราไม่ทราบสาเหตุของการสูญเสีย  ซึ่งอาจจะหยุดเนื่องจากอุปกรณ์เครื่องจักรชำรุดเพราะผ่านการใช้งานมานาน  หรืออาจจะชำรุดเสียหายจากผู้ใช้งานเอง  เนื่องจากใช้งานไม่ถูกวิธี หรือใช้งานไม่เป็น
ปัญหาดังกล่าวของบางบริษัท เป็นเพราะผู้บริหารและฝ่ายผลิต ไปใส่ใจในเรื่องของ Output (ยอดการผลิต เป้าได้ นั่นหมายถึง Active Money ) โดยไม่คำนึงถึงการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร จะเสียหายอย่างไร หรือสกปรกเพียงใด และไม่เคยสนใจที่จะทำความสะอาด  หรือไม่มีการพัฒนาขีดความรู้ความสามารถของบุคลากรในหน่วยงาน  ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นตามเทคโนโลยีที่ใช้ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็เป็นหน้าที่ของช่างซ่อมบำรุง ที่จะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขให้เครื่องจักรกลับมาใช้งานได้ตามปรกติ ในภาวะที่รีบด่วน และเร่งรีบ  หรืองานที่ผลิตออกมาคุณภาพไม่ดี  เสีย  ก็โทษปี่โทษกลองไปโน่น  แต่ไม่เคยโทษตัวเองเลย
ในตำราพิชัยสงครามของ ซุนวู ได้กล่าวไว้ว่าในการทำสงครามนั้นให้ดูที่กองทัพนั้นว่า กองทัพใดมี ทหารกล้าหาญและระเบียบวินัยหรือไม่ และฝึกทหารดีหรือไม่ เป็นสำคัญ เพราะกองทัพนั้นจะรบได้ชัยชนะหรือไม่ ให้ดูใน 2 ข้อนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญ เปรียบในกับการธุรกิจได้เช่นกัน สิ่งที่จะบ่งบอกว่าองค์กรธุรกิจนั้น จะเจริญเติบโตและก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น องค์ประกอบที่สำคัญก็คือ คนเช่นเดียวกัน
ธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้ดีหรือไม่ หรือธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับบุคลากรหรือคนในองค์กร เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน คนทำให้ดีก็ได้ หรือจะทำให้เสียก็ได้ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ล้ำค่า เป็นหัวใจของทุกองค์กร องค์กรจึงต้องมีคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ความสามารถ และมีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในองค์กรมากๆ จึงจะสามารถนำพาองค์กรหรือบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้
                และสุดท้ายผมจึงขอฝากแนวความคิด หรือเสียงสะท้อนกลับ  ในฐานะช่างซ่อมบำรุงคนหนึ่ง   มายังท่านทั้งหลายที่เป็นนักบริหาร
Ø  Preventive Maintenance         คืออะไร?
Ø  Break down Maintenance     คืออะไร?