แนวคิดการซ่อมบำรุงกับการผลิต
ส่วนหนึ่งที่ผมตั้งใจนำเสนอบทความเกี่ยวกับการบำรุงรักษา เพราะผมเองก็มีหน้าที่ในการบำรุงรักษา
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมได้ใช้ชีวิตคลุกคลีกับเครื่องจักรมามากกว่าครึ่งชีวิตของผม
ในหลายๆ บริษัท ปัจจุบันก็ยังคงเป็นช่างซ่อมบำรุง
ซึ่งผู้บริหาร
และฝ่ายผลิต ในหลายๆ บริษัท นอกจากจะใส่ใจในเรื่องของการผลิตให้ได้เป้าหมายและมีคุณภาพแล้ว การจัดการเรื่องคน
กับเครื่องจักรก็สำคัญไม่น้อย บริษัทในวงการอุตสาหกรรมโดยทั่วไป
มักจะเน้นการซ่อมบำรุงในลักษณะ Preventive Maintenance แต่จะมีไม่กี่บริษัท
ที่ยังใช้ระบบ Break down Maintenance อยู่ความหมายก็คือ การซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุดและหยุดโดยฉุกเฉิน
วิธีการนี้เป็นวิธีการดั้งเดิมในการบำรุงรักษา ที่เราไม่ทราบสาเหตุของการสูญเสีย ซึ่งอาจจะหยุดเนื่องจากอุปกรณ์เครื่องจักรชำรุดเพราะผ่านการใช้งานมานาน หรืออาจจะชำรุดเสียหายจากผู้ใช้งานเอง เนื่องจากใช้งานไม่ถูกวิธี หรือใช้งานไม่เป็น
ปัญหาดังกล่าวของบางบริษัท
เป็นเพราะผู้บริหารและฝ่ายผลิต ไปใส่ใจในเรื่องของ Output (ยอดการผลิต เป้าได้ นั่นหมายถึง Active Money )
โดยไม่คำนึงถึงการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร จะเสียหายอย่างไร หรือสกปรกเพียงใด และไม่เคยสนใจที่จะทำความสะอาด หรือไม่มีการพัฒนาขีดความรู้ความสามารถของบุคลากรในหน่วยงาน ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นตามเทคโนโลยีที่ใช้ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็เป็นหน้าที่ของช่างซ่อมบำรุง
ที่จะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขให้เครื่องจักรกลับมาใช้งานได้ตามปรกติ
ในภาวะที่รีบด่วน และเร่งรีบ หรืองานที่ผลิตออกมาคุณภาพไม่ดี เสีย
ก็โทษปี่โทษกลองไปโน่น แต่ไม่เคยโทษตัวเองเลย
ในตำราพิชัยสงครามของ
ซุนวู ได้กล่าวไว้ว่าในการทำสงครามนั้นให้ดูที่กองทัพนั้นว่า กองทัพใดมี “
ทหารกล้าหาญและระเบียบวินัยหรือไม่ ”
และฝึกทหารดีหรือไม่ เป็นสำคัญ เพราะกองทัพนั้นจะรบได้ชัยชนะหรือไม่ ให้ดูใน 2
ข้อนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญ เปรียบในกับการธุรกิจได้เช่นกัน
สิ่งที่จะบ่งบอกว่าองค์กรธุรกิจนั้น จะเจริญเติบโตและก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น
องค์ประกอบที่สำคัญก็คือ คนเช่นเดียวกัน
ธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้ดีหรือไม่
หรือธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับบุคลากรหรือคนในองค์กร
เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน คนทำให้ดีก็ได้
หรือจะทำให้เสียก็ได้ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ล้ำค่า เป็นหัวใจของทุกองค์กร
องค์กรจึงต้องมีคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ความสามารถ
และมีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในองค์กรมากๆ
จึงจะสามารถนำพาองค์กรหรือบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้
และสุดท้ายผมจึงขอฝากแนวความคิด
หรือเสียงสะท้อนกลับ ในฐานะช่างซ่อมบำรุงคนหนึ่ง มายังท่านทั้งหลายที่เป็นนักบริหาร
Ø Preventive Maintenance คืออะไร?
Ø Break down Maintenance คืออะไร?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น