วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

อคติ ตัวการทำลายความยุติธรรม


อคติ ตัวการทำลายความยุติธรรม
เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ในสังคมไทยของเราเวลานี้ มันมีตัวเสนียดจัญไรอยู่สองตัวคือ ริษยากับ อคติตัวอุบาทว์จัญไรสองตัวนี้แหละที่มันคอยบั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของสังคมไทย ไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ว่ากลับลากให้ถอยหลังเข้ารถเข้าพงเข้าสู่ดงแห่งความมืดบอดทางจิตใจ
ทุกคนต้องการความเป็นธรรม  แต่ความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมยากที่จะหาได้ในโลก เพราะคนส่วนใหญ่ต่างก็ไม่มีความเป็นธรรม จึงไม่สามารถให้ความยุติธรรมแก่ใครได้ ให้ได้แค่ทำให้ผู้อื่นพอใจเป็นครั้งคราว  เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงได้แต่ความพึงพอใจจากผู้อื่นเป็นครั้งคราว ความพึงพอใจนี้เองที่เราเรียกว่าความยุติธรรม เช่นเดียวกับความไม่พึงพอใจที่เราเรียกว่าความไม่ยุติธรรม  เหตุที่ความยุติธรรมหาได้ยากในโลก   เพราะคนส่วนใหญ่มีอคติหรือมีความลำเอียงอยู่ในใจ พระพุทธเจ้าทรงจำแนก  ความอคติไว้ 4 อย่าง ได้แก่  อคติเพราะความรัก อคติเพราะความชัง   อคติเพราะความเขลา  อคติเพราะความกลัว

อคติเพราะความรัก 
ทำให้เกิดความลำเอียง  เมื่อมนุษย์เราจะทำอะไรก็มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้องก่อนเสมอ ทำให้เกิดความลำเอียงเพราะความรักพวกพ้องและตัวเอง
อคติเพราะความชัง  
                เพราะมีความโกรธเป็นอารมณ์อยู่แล้ว เวลาตัดสินอะไรหรือคิดอะไรจะพุ่งมาด้วยความชอบ คือถ้าชอบใจก็จะช่วย แต่หากชังก็จะใส่ร้ายป้ายสี
อคติเพราะความเขลา 
อคติเพราะโง่เขลา จะตัดสินปัญหาใดๆ ก็ผิด เพราะเป็นคนหูเบาเชื่อคนง่าย ไม่มีสติปัญญา ไม่มีคุณธรรม ตัดสินปัญหาต่างๆด้วยอารมณ์ ไม่มีเหตุผล ไม่มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ หน้าที่การงาน  ไม่มีความจริงใจต่อตนเอง และผู้อื่น ทำให้สังคมเสื่อมโทรม ไม่ควรเคารพนับถือ ไม่ควรคบค้าสมาคม นี้คือ  ผู้ที่ขาดคุณธรรมทั้ง ๓ อย่าง
อคติเพราะความกลัว
อคติเพราะความกลัว กลัวว่าคนอื่นจะได้ดีเกินหน้า การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะมีความหวาดกลัว หรือเกรงกลัวภยันตราย วิธีแก้ทำได้ด้วยการพยายามฝึกให้เกิดความกล้าหาญ โดยเฉพาะความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ดีงาม


เมื่ออคติเกิดขึ้นในใจของหัวหน้างานเมื่อใด เมื่อนั้นเขาจะขาดคุณสมบัติของการเป็นหัวหน้างานที่ดีไปทันที เพราะอคติจะเข้ามาบิดเบือนการใช้อำนาจในฐานะหัวหน้า บิดเบือนความยุติธรรมที่หัวหน้าควรจะมี และสะท้อนการทำหน้าที่หัวหน้าล้มเหลว ลองพิจารณาเฉพาะอคติในการประเมินผล ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อ องค์กรองค์กรจะไม่สามารถรับรู้กำลังคนที่มีประสิทธิภาพแท้จริง หัวหน้าจะได้ทำงานกับคนที่ถูกใจ แต่อาจไร้ประสิทธิภาพ..... อีกทั้งต้องเผชิญหน้ากับลูกน้องที่เปลี่ยนมาเป็นศัตรู เพราะรู้สึกว่าหัวหน้าลำเอียง และ ลูกน้องคนที่ได้รับการประเมินสูงเกินความจริง ย่อมพึงพอใจ แต่จะไม่รู้ประสิทธิภาพการทำงานที่แท้จริงของตน ส่วนคนที่ได้รับการประเมินที่ต่ำกว่าความจริง ย่อมรู้สึกว่า หัวหน้าลำเอียง และไม่ต้องการทำงานต่อไป

-->