วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น่าแปลกใจน้ำท่วมเต็มเมือง แต่สถานีสูบชายทะเล'ระดับน้ำต่ำ


Mr.Lino วิศกรจากอิตาลี่ที่เดินทางมาทำงานกับ aerosoft

               กว่าน้ำเหนือจะหลากเฉียดผ่านกรุงเทพ มหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ สู่เป้าหมายไหลลงทะเลอ่าวไทยนั้น มวลน้ำจะถูกแบ่งเป็น 2 ทาง ส่วนหนึ่งมาตามลำน้ำเจ้าพระยา คุมการไหลไม่ให้เกิน 3,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที อีกทางปัดออกทางขวา ให้เข้าทุ่งรับน้ำด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ตามแนวคลองระพีพัฒน์ คลองรังสิต คลองหกวาสายล่าง คลองบางขนาก คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ ระบายสู่แม่น้ำนครนายกและแม่น้ำบางปะกง ลงสู่อ่าวไทย อีกส่วนหนึ่ง ผ่านคลองสำโรง คลองพระองค์ไชยานุชิต และสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ ก่อนสูบและระบายลงสู่ทะเล น้ำที่ระบายผ่านช่องนี้ วันละ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร รองจากการปล่อยผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ทำได้วันละ 51 ล้านลูกบาศก์เมตร
ยืนบริเวณสะพานส่งน้ำที่ลอยข้ามถนนสุขุมวิทสายเก่ามอง
ออกสู่อ่าวไทย ระดับน้ำยังต่ำมาก ในเวลาที่ข่าวบอกน้ำขึ้นสูง

             น่าแปลกที่ เส้นทางสู่อ่าวไทยทางตะวันออกพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล แต่บางพื้นที่เช่นเขตหนองจอกกลับมีปัญหาน้ำท่วมเพราะน้ำเหนือหลาก เราจึงอาสาสำรวจระบบสูบและน้ำย่านนี้ขีดความสามารถ ของระบบการระบายและการสูบน้ำย่านติดชายทะเลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ในความรับผิดชอบของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร มีสถานีสูบน้ำชายทะเลที่สำคัญ ได้แก่ สถานีสูบน้ำชลหารพิจิตร 2 แห่ง  สถานีสูบน้ำคลองด่าน 2 แห่ง, สถานีสูบน้ำเจริญราษฎร์, สถานีสูบน้ำบางปลา, สถานีสูบน้ำบางปลาร้าและสถานีสูบน้ำตำหรุ ซึ่งมีเครื่องสูบน้ำ อย่างน้อยสถานีละ 8 เครื่อง

                ที่ถือเป็นพระเอกของย่านนี้ คือ โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ที่มีทั้งคลองรับน้ำจากคลองสำโรง ที่ขุดขึ้นใหม่ กว้าง 48 เมตรยาว 12 กม. พุ่งตรงเข้าสู่อาคารบังคับน้ำ แล้วยกระดับ ด้วยสะพานน้ำ เปรียบได้กับการยกคลองลอยฟ้า สูงเหนือถนนสุขุมวิท 6 เมตร ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 25 ลบ.ม./วินาที จำนวน 4 เครื่อง สามารถสูบน้ำได้สูงสุด 100 ลบ.ม./วินาที ควบคุมการสูบน้ำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ลงสู่ทะเลได้ สูงสุดวันละ 90,000 ลบ.ม. มีสถานีไฟฟ้าย่อย ขนาด 115  เควี ของตนเอง มีระบบควบคุมระยะไกลในการเปิดปิดประตูระบายน้ำคลองย่อยอีก 22 คลอง และควบคุมการทำงานของเครื่องสูบ ติดตั้งโทรมาตรอุทกวิทยา รายงานข้อมูลด้วยจีพีอาร์เอส มูลค่าการก่อสร้าง 8,700 ล้านบาท
                 เพื่ออธิบายให้เห็นประสิทธิภาพโครงการ นายช่างชลประทานท่านหนึ่ง ขยายความว่า คนในวงการเรียกสถานี 100 คิว เพราะได้วินาทีละ 100 ลบ.ม. โดยเครื่องสูบเพียงเครื่องเดียว สูบน้ำได้เท่ากับสถานีสูบน้ำคลองด่าน ที่มีเครื่องสูบถึง 8 เครื่อง โครงการนี้ ทำให้ปัญหาการเสียพื้นที่รับน้ำเพื่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2 หมื่นไร่ หมดไป และช่วยให้สนามบินมีความเสี่ยงน้ำท่วมน้อยลงเยอะ
                  คนที่เคยกังวลหรือนินทาว่าร้าย เกรงจะมีการสูบน้ำออกจากสนามบินมาท่วมบ้าน หรือบางรายหาว่าเป็นตัวการทำให้น้ำท่วมคงต้องถอนคำพูดกันแล้วแต่จากการตรวจสภาพการระบายน้ำ กลับพบว่าที่ลำคลองหน้าสถานีสูบน้ำทุกแห่ง ระดับน้ำต่ำกว่าระดับทะเลปานกลางหรือค่าปกติ ถึง 30 ซม. ทั้งที่หลายแห่งกำลังเผชิญสภาพน้ำท่วม โดยเฉพาะย่านหนองจอกอันเป็นเขตใกล้เคียงพื้นที่ระบายน้ำของสถานีสูบน้ำ
เราสูบทุกวัน ติดต่อกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เพื่อพร่องน้ำ รอให้น้ำเหนือมา ก็ยังไม่มาสักทีเจ้าหน้าที่ประจำสถานีทุกแห่งบอกตรงกันถามไปที่กรมชลประทาน หลายคนก็ไม่เข้าใจว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ที่สุดก็มีคำตอบจาก ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชล ประทาน ที่ไม่มีน้ำให้สูบลงทะเล เพราะน้ำจากตอนเหนือไปไม่ทัน เนื่องจากพื้นที่จากเขตลาดกระบัง ถึงชายทะเลมีความลาดชันน้อย ทางกรมชลประทานพยายามใช้ระบบไซฟอนหรือกาลักน้ำช่วยผลักดันแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผลนัก
ทางด้านสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพ มหานคร มีคำอธิบายว่า  น้ำเหนือที่มาทางด้านตะวันออก ผ่านเขตหนองจอก ลาดกระบัง มีทางระบายได้ 2 สาย โดยสายแรกมาทางคลองสิบสาม เข้าคลองแสนแสบ คลองลำปลาทิว คลองนครเนื่องเขต ไปทางท่าไข่ ท่าถั่ว ลงสู่แม่น้ำบางปะกง อีกเส้นทาง มาตามคลองลำปลาทิว ถึงคลองบางโฉลง ย่านสุวรรณภูมิ คลองจระเข้ใหญ่ คลองสำโรง สู่คลองตัดใหม่ในโครงการชลหารพิจิตร สู่ระบบสูบน้ำ 100 คิว
              นอกนั้นเป็นการระบายลงสู่เส้นทางย่อย เช่นคลองด่าน การที่ไม่มีน้ำเข้าสู่สถานีสูบน้ำชายทะเล มีคำอธิบายของเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำว่า เป็นเพราะความลาดของคลองมีไม่มากจึงไหลช้า ครั้นจะปล่อยออกทางจังหวัดฉะเชิงเทรามากก็จะมีปัญหากับชุมชน จึงพยายามระบายผ่านคลองลำปลาทิว ลงทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่ส่วนใหญ่ กทม. จะพยายามให้ลงทางคลองแสนแสบ
ฟังจากทุกฝ่าย นำมาเทียบเคียงกับข้อเท็จจริงสิ่งที่เห็นด้วยตาแล้ว ก็ยังเข้าใจไม่ได้ ว่า เหตุใด ทั้งที่มีระบบซึ่งลงทุนไว้มหาศาล จึงไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ปล่อยให้คนส่วนหนึ่งจมน้ำอยู่ได้  
            ผมเองเป็นชาวบางพลีมาแต่กำเนิด ในสมัยก่อนน้ำในย่านนี้ท่วมทุกปี  มาระยะหลังไม่เคยท่วม นั่นเป็นนิมิตหมายที่ดีหมายถึงมีการบริหารจัดการที่ดี  ปีนี้กระแสข่าวบอกท่วมแน่นอน  ผมรอน้ำมา  3 อาทิตย์แล้วก็ยังไม่มา  หลายคนถามผมว่าไม่กลัวหรือน้ำท่วม  ผมลูกชาวน้ำครับเห็นน้ำท่วมบ้านในระดับหัวเข่ามาตั้งแต่เด็กจนชิน  ผมมั่นใจว่าน้ำที่ท่วมอยู่ ณ ปัจจุบันมันไม่ได้มาจากระดับน้ำทะเลที่ขึ้นสูง  แต่มันมาจากแม่น้ำต่างๆหลายสายที่ไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา  และเคลื่อนตัวลงสู่ระดับที่ต่ำกว่า   เพื่อออกสู่มหาสมุทรแต่โทษทีมันไม่ออกมา  บางส่วนวิ่งวนเวียนอยู่ในเมืองหลวง  บางส่วนกำลังโอบล้อมกรุงเทพมหานครไว้รอวันเวลา  อย่าเอาชีวิตประชาชนมาเป็นเครื่องเดิมพันทางการเมือง  มันไม่ได้ใจหรอกครับ
มีใครกั๊กอะไรไว้ตรงไหนหรือเปล่า??.
วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2554

     ครับจากข้อมูลด้านบนวันนี้ผมได้มีโอกาส   ออกไปทดสอบแพลอยน้ำติดเครื่องยนต์ที่ aerosoft กับ HUNTSMAN รวมใจกันสร้าง  ในการทดสอบใช้สถานที่ลำคลองสูบน้ำสุวรรณภูมิ โดยมี วิศกรจากอิตาลี่ร่วมด้วยช่วยกัน และมีผมเป็นผู้ถือท้ายเรือ  เนื่องจากลักษณะที่เป็นแพในการนำมาติดตั้งเครื่องยนต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในใช้สอยเพื่อการบรรทุก  ไม่ใช่เป็นการเคลื่อนที่เร็ว


และได้ทดลองลากแพอีกลำถือว่าใช้ได้ดีทีเดียว  อย่างน้อยก็ทุ่นแรงไปได้อีกเยอะ  ถ้าจำเป็นต้องนำแพล่องทวนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก












                 ที่ลำคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิมีนักตกปลา  มาตกปลากันเป็นจำนวนมาก  แบบไม่รู้ร้อนรู้หนาวว่าน้ำจะท่วมเมืองกับเขาเลย  ที่เห็นกำลังเย่อะอยู่     ปลาจริงๆนะครับผมกะด้วยสายตาน้ำหนักน่าจะประมาณ 3.5 กิโลกรัม  










             พอดีขับรถกำลังจะผ่านไป Mr.Lino เห็นนักตกปลาท่านหนึ่งกำลังเย่ออยู่กับปลาเลยอยากสนุกบ้าง  ให้ผมจอดรถเพื่อที่จะเข้าไปร่วมแจมด้วย  เท่ไม่เบา  เป็นปลาสวายครับ  ชิ่งหน้ายาวใช้ตะกั่วถ่วงแสดงว่าตกหน้าดิน  เอาขนมปังแผ่นร้อยเป็นพวงมาลัยในการตก









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น