วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บริษัทซัมมิทจัดทำกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี2555 ให้กับพนักงาน



บริษัทซัมมิทจัดทำกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี2555 ให้กับพนักงาน
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2555 บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด  ได้มีความห่วงใยในสุขภาพของพนักงาน จึงได้จัดทำกิจกรรม ตรวจสุขภาพประจำปี2555 ให้แก่พนักงานของบริษัทฯ  ตามแผนงานความปลอดภัย มาตรา  ๑๐๗  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ 
กำหนดการตรวจสุขภาพ พนักงาน ประจำปี 2555  ในวันเสาร์ ที่ 18 สิงหาคม 2555 เวลา 08: 00 น. - 17: 00 น.  โดยศูนย์ตรวจวิเคราะห์และวิจัยทางการแพทย์  บริษัท ไลฟ? ไดแอ็ก จำกัด โปรแกรมการตรวจสุขภาพ มี 5 รายการดังนี้
1.  ตรวจทั่วไปโดยแพทย์
2.  การวัดดัชนีมวลกาย
3.  ตรวจวัดสายตา สั้น ยาว เอียง และบอดสี
4.  ตรวจสมรรถภาพกล้ามเนื้อมือ
5. เอ็กซเรย์ทรวงอกระบบดิจิตอล
และยังมีรายการตรวจเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจ  ทั้งนี้การตรวจสุขภาพเพิ่มเติมต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง  แต่ราคาไม่สูงมากประมาณชนิดละ 30 - 200  บาท  เท่านั้นเอง  ทำให้มีพนักงานขอรับบริการตรวจสุขภาเพิ่มเติมกันเป็นจำนวนมากเลยที่เดียว  และได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารและพนักงานเป็นอย่างดี ไปดูภาพบรรยากาศภายในงานว่าเป็นอย่างไรกันล้าง 


บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง
และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๗
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลักการ
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง  และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน
เหตุผล
โดยที่มาตรา  ๑๐๗  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑  บัญญัติให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง  และส่งผลการตรวจแก่พนักงานแรงงาน  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง
และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๗
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๐๗  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑  อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา  ๒๙  ประกอบกับมาตรา  ๓๑  มาตรา  ๓๕  มาตรา ๔๘  และมาตรา  ๕๐  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามทบบัญญัติแห่งกฎหมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงได้ ดังต่อไปนี้
                 ข้อ ๑  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                 ข้อ ๒  ในกฎกระทรวงนี้
                “การตรวจสุขภาพ”  หมายความว่า  การตรวจร่างกายและสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม  และผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างอันอาจเกิดจากการทำงาน
                “งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง”  หมายความว่า  งานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับ
                (๑)  สารเคมีอันตรายตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                (๒)  จุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส  แบคทีเรีย  รา  หรือสารชีวภาพอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                (๓)  กัมมันตภาพรังสี
                (๔)  ความร้อน  ความเย็น  ความสั่นสะเทือน  ความกดดันบรรยากาศ  แสง  เสียง  หรือสภาพแวดล้อมอื่นที่อาจเป็นอันตราย  ทั้งนี้  ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
 หมวด ๑
การตรวจสุขภาพ
-------------------------------
                 ข้อ ๓  ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์  หรือที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์  หรือที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด  โดยตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน  และตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
                ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานที่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงนั้น  มีความจำเป็นต้องตรวจสุขภาพตามระยะเวลาอื่น  ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามระยะเวลานั้น
                ในกรณีนายจ้างเปลี่ยนงานของลูกจ้างที่มีอันตรายแตกต่างไปจากเดิม  ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างทุกครั้งให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนงาน
                 ข้อ ๔  ในกรณีที่ลูกจ้างหยุดงานสามวันทำงานต่อต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใด ๆ นายจ้างอาจขอความเห็นจากแพทย์ผู้ทำการรักษา  หรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการหรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีกก็ได้

หมวด ๒
การบันทึกผล การแจ้ง และการส่งผลการตรวจสุขภาพ
-----------------------------------
                 ข้อ ๕  ในการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓ ให้แพทย์ผู้ทำการตรวจบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพ  โดยให้ระบุความเห็นของแพทย์ที่บ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของลูกจ้างที่มีผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายของลูกจ้าง  พร้อมทั้งลงลายมือชื่อแพทย์ผู้ทำการตรวจหรือให้ความเห็นในวันที่ทำการตรวจหรือให้ความเห็นนั้น
                 ข้อ ๖  ให้นายจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด  และให้นายจ้างบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างตามผลการตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ
                 ข้อ ๗  ให้นายจ้างเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓  รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง  และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาโดยให้เก็บไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย  เว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับโรคหรืออันตรายอย่างใดต่อสุขภาพของลูกจ้าง  แม้จะพ้นเวลาที่กำหนดให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  ทั้งนี้  มิให้นายจ้างนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางที่เป็นโทษแก่ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร 
                ข้อ ๘  ให้นายจ้างแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้
                (๑)  กรณีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติ  ให้แจ้งแก่ลูกจ้างผู้นั้นภายในระยะเวลาสามวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ
                (๒)  กรณีผลการตรวจสุขภาพปกติ  ให้แจ้งแก่ลูกจ้างผู้นั้นภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ
                ข้อ ๙  ในกรณีที่พบความผิดปกติของลูกจ้าง  หรือลูกจ้างมีอาการหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที  และทำการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน
                ให้นายจ้างส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย  การให้การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย
                 ข้อ ๑๐  ถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของราชการหรือที่ราชการยอมรับ  แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้  ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควร  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ
                 ข้อ ๑๑  ให้นายจ้างมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง

ให้ไว้    วันที่  ๒๙  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

( นางอุไรวรรณ  เทียนทอง )
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ฉบับกฤษฎีกา  เล่ม  ๑๒๒  ตอนที่  ๔ ก  วันที่  ๑๓  มกราคม  ๒๕๔๘ 

1 ความคิดเห็น:

  1. สถานพยาบาลจุฬาเวช (สำโรง สมุทรปราการ)
    บริการตรวจสุขภาพประจำปีเคลื่อนที่
    ตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน ราคาพิเศษ
    เช่าเครื่องมือแพทย์ และบริการอื่นๆ สอบถามข้อมูลที่ได้ที่แผนกการตลาด
    086-324-7608 , 02-758-2099 marketing@chulavej.com หรือดูรายละเอียดที่ website ; http://www.chulavej.com มั่นใจในบริการ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริง ตรวจสอบได้ ผลละเอียดแม่นยำ

    ตอบลบ