วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ขออนุเคราะห์สนับสนุนโครงการ แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม

ขออนุเคราะห์สนับสนุนโครงการ แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม

 จากการที่ได้จัดทำโครงการ aerosft จับมือกับHUNTSMANรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม  ได้มีผู้ให้ความสนใจและได้ติดต่อขอรับบริจาคเป็นจำนวนมาก  จึงได้จัดทำโครงการโดยมีคณะทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก       
       ตามที่ประเทศไทยประสบสภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรงในเขตภาคกลาง  ตลอดจนพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก   และผู้ประสบภัยอุทกภัยน้ำท่วมได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง  ด้วยเหตุดังกล่าว  บริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้า aerosoft ร่วมกับบริษัท ฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเคมีสำหรับอุตสาหกรรมโฟมโพลียูเรเทน    คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาเคมี  และกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ  มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมจึงได้ร่วมจัดทำโครงการแพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม   ซึ่งทำการสร้างแพโฟมโพลียูเรเทน  เพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยงานภาครัฐ  เอกชน  และพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม  โดยมีรายละเอียดดังนี้  
1. วัตถุประสงค์
                     การผลิต แพรวมใจจำนวน 200 แพ และเสื้อชูชีพจำนวน 1,000 ตัว เพื่อแจกจ่ายให้กับ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ตลอดจนพี่น้อง ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม
2. รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการ
                     2.1 หน้าที่ความรับผิดชอบ บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด จะเป็นผู้ผลิต แพรวมใจและเสื้อชูชีพ โดยบริษัทฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเทคนิคการผลิต ภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ประสานงานในเรื่องการรับบริจาค กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นผู้แจกจ่ายแพและเสื้อชูชีพให้แก่ผู้ประสบภัย
                     2.2 สถานที่ผลิต ใช้สถานที่โรงงาน บริษัท คิงส์สปัน จำกัด
                     2.3 คณะทำงาน
                           1. พล.ร.ต.ปรพฤติพร  อักษรมัต           เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ                       ที่ปรึกษาโครงการ
                           2. คุณจุมพล  กีรติมโนชย์                      บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด                                 ที่ปรึกษาโครงการ
                           3. คุณสมเกียรติ  นนทิสกุล                    บริษัท คาเธ่ย์ อัลลายแอนซ์ จำกัด                      ที่ปรึกษาโครงการ
                           4. ผศ.ดร.วรินทร  ชวศิริ                         ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาตร์ จุฬาฯ                   ที่ปรึกษาโครงการ
                           5. คุณสุรพล  ฉัตรอนันทเวช                 บริษัท ฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด            ที่ปรึกษาโครงการ
                           6. คุณธง       ตั้งศรีตระกูล                      ประธานชมรม พสบ.ทร.                                      ที่ปรึกษาโครงการ
                           7. คุณสุชาติ  แย้มไสว                             บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด                                 ประธานกรรมการ
                           8. รศ.ดร.นวลพรรณ  จันทรศิริ              ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ                 กรรมการ
                           9. รศ. ทรงกลด          จารุสมบัติ             คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์                         กรรมการ
                          10. คุณสุรสิทธิ์            แก่นกงไว             บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด                                 กรรมการ
                          11. คุณขวัญชัย            สิงโตทอง              บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด                                กรรมการ
                          12. คุณสีดา                  กาลพาด                บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด                                กรรมการ
                          13. คุณแพรทิพย์         วงศ์สมัย                บริษัท ฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด           กรรมการ
                          14. คุณอุดร           กรรณทอน                  บริษัท ฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด          กรรมการ
                          15. คุณนรากานต์ พัวพัน                          บริษัท ฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด          กรรมการและเลขานุการ
                    2.4   ระยะเวลาการดำเนินการ    ตุลาคม 2554 ถึง พฤศจิกายน 2554
                    2.5   ความคืบหน้าของโครงการ
                  ปัจจุบัน ได้ผลิตแพรวมใจแล้วประมาณ 36 ลำ และทำการส่งมอบให้ กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 จำนวน 30 ลำ โดยมี พล.ร.ต. ประพฤติพร อักษรมัต เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นผู้รับมอบ และแจกจ่าย ให้ประชาชน ทั่วไป จำนวน 6 ลำ และดำเนินการผลิตอยู่ซึ่งคาดว่าจะได้เพิ่มอีก ประมาณ 20 ลำ สำหรับเสื้อชูชีพ นั้นได้ดำเนินการผลิตแล้วประมาณ 500 ตัว และได้แจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไปแล้วบางส่วน
                รายละเอียดของ "แพรวมใจ"
                     1. ผลิตจากโฟมโพลิยูรีเทน ที่มีน้ำหนักเบา และไม้อัดเกรดกันน้ำ สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย
                     2. น้ำหนักรวมประมาณ 35-40 กก.
                     3. ขนาด 1.20x2.40x0.3 เมตร
             4. ที่ขอบแพมีเชือกผูกยึดกันตก ใช้ลากจูง หรือผูกติดกันเพื่อเป็นแพขนาดใหญ่
                     5. ที่มุมทั้ง 4 มีรูสำหรับตั้งเสาในกรณีที่จะดัดแปลงเป็นที่พักชั่วคราว หรือสุขาลอยน้ำ
                     6. สามารถรับน้ำหนักได้ 500 กก. หรือ ผู้โดยสาร 6 คน
                     7. สามารถดัดแปลงติดเครื่องยนต์เล็กได้
                ดังนั้นทางโครงการจึงใคร่ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทย ช่วยกันบริจาคทุนทรัพย์เพื่อนำไปซื้อวัสดุสำหรับการผลิตแพและเสื้อชูชีพตามจำนวนของโครงการ โดยบริจาคเข้าบัญชี ภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย เลขที่บัญชี 045-234446-6 ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ พร้อมกับแจ้งรายละเอียดมายังที่อยู่ข้างล่างนี้ โดยภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะออกหนังสือขอบคุณการบริจาคให้แก่ผู้บริจาคทุกท่าน หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
                1.      คุณปรัศนียา เครือสำเภาโทร     02-2187596-7 ต่อ 806 อีเมล์ warintho @yahoo.com
                2.      คุณสุชาติ      แย้มไสว    โทร   081-6183306       0-3370015-20              
                อีเมล์    technic@aerosolfshoe.com   sfs9km16@ksc.th.com
                3.      คุณนรากานต์  พัวพัน โทร 081-7539832     02-7094466  
                อีเมล์ narakan_puapan@huntsman.com

          จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

( สุชาติ    แย้มไสว )
ประธานกรรมการโครงการ

                      บริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด ร่วมกับ บริษัทฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดกองคาราวาน aerosoft and HUNTSMAN แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม เพื่อเดินทางไปยังพื้นที่ๆมีผู้ประสบภัยที่กำลังได้รับความเดือดร้อนเพื่อบริจาคสิ่งของที่จำเป็น เช่นข้าวสารอาหารแห้งต่างๆ  ในเส้นทางตั้งแต่ปทุมธานี อยุธยา  เดินทางโดยรถบรรทุก 10 ล้อ  และจะใช้แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วมเดินทางไปยังพื้นที่ๆรถยนต์ไม่สามารถเข้าถึง และยังมีผู้อาศัยอยู่   สิ่งของต่างๆที่จะนำไปบริจาคนั้น  ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากพนักงานทั้งสองบริษัทเป็นอย่างดี  ทั้งนี้จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนที่มีจิตศรัทธาที่จะร่วมบริจาคสิ่งของข้าวปลาอาหารแห้งเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถติดต่อได้ที่ 
บริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด    คุณสุชาติ แย้มไสว    โทร      081-6183306   0-3370015-20   
บริษัทฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด คุณนรากานต์  พัวพัน 
โทร     081-7539832 , 02-7094466    
                                  อีเมล์ narakan_puapan@huntsman.com
โดยออกเดินทาง ในวันอาทิตย์ ที่ 13 พฤศจิกายน  2554  เวลา 06:00 น.  
          เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำได้ขยายวงกว้างเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล  ทางคณะทำงานโครงการแพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม  มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการผลิตแพ  เพื่อส่งมอบให้กับ  เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ จึงได้ลงมติเลื่อนหมายกำหนดการกองคาราวาน aerosoft and HUNTSMAN แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม ออกไป จากวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554  เป็น วันที่อาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554 แทน 



 รายนามผู้บริจาค  และผู้สนับสนุนโครงการ "แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม"

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น่าแปลกใจน้ำท่วมเต็มเมือง แต่สถานีสูบชายทะเล'ระดับน้ำต่ำ


Mr.Lino วิศกรจากอิตาลี่ที่เดินทางมาทำงานกับ aerosoft

               กว่าน้ำเหนือจะหลากเฉียดผ่านกรุงเทพ มหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ สู่เป้าหมายไหลลงทะเลอ่าวไทยนั้น มวลน้ำจะถูกแบ่งเป็น 2 ทาง ส่วนหนึ่งมาตามลำน้ำเจ้าพระยา คุมการไหลไม่ให้เกิน 3,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที อีกทางปัดออกทางขวา ให้เข้าทุ่งรับน้ำด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ตามแนวคลองระพีพัฒน์ คลองรังสิต คลองหกวาสายล่าง คลองบางขนาก คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ ระบายสู่แม่น้ำนครนายกและแม่น้ำบางปะกง ลงสู่อ่าวไทย อีกส่วนหนึ่ง ผ่านคลองสำโรง คลองพระองค์ไชยานุชิต และสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ ก่อนสูบและระบายลงสู่ทะเล น้ำที่ระบายผ่านช่องนี้ วันละ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร รองจากการปล่อยผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ทำได้วันละ 51 ล้านลูกบาศก์เมตร
ยืนบริเวณสะพานส่งน้ำที่ลอยข้ามถนนสุขุมวิทสายเก่ามอง
ออกสู่อ่าวไทย ระดับน้ำยังต่ำมาก ในเวลาที่ข่าวบอกน้ำขึ้นสูง

             น่าแปลกที่ เส้นทางสู่อ่าวไทยทางตะวันออกพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล แต่บางพื้นที่เช่นเขตหนองจอกกลับมีปัญหาน้ำท่วมเพราะน้ำเหนือหลาก เราจึงอาสาสำรวจระบบสูบและน้ำย่านนี้ขีดความสามารถ ของระบบการระบายและการสูบน้ำย่านติดชายทะเลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ในความรับผิดชอบของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร มีสถานีสูบน้ำชายทะเลที่สำคัญ ได้แก่ สถานีสูบน้ำชลหารพิจิตร 2 แห่ง  สถานีสูบน้ำคลองด่าน 2 แห่ง, สถานีสูบน้ำเจริญราษฎร์, สถานีสูบน้ำบางปลา, สถานีสูบน้ำบางปลาร้าและสถานีสูบน้ำตำหรุ ซึ่งมีเครื่องสูบน้ำ อย่างน้อยสถานีละ 8 เครื่อง

                ที่ถือเป็นพระเอกของย่านนี้ คือ โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ที่มีทั้งคลองรับน้ำจากคลองสำโรง ที่ขุดขึ้นใหม่ กว้าง 48 เมตรยาว 12 กม. พุ่งตรงเข้าสู่อาคารบังคับน้ำ แล้วยกระดับ ด้วยสะพานน้ำ เปรียบได้กับการยกคลองลอยฟ้า สูงเหนือถนนสุขุมวิท 6 เมตร ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 25 ลบ.ม./วินาที จำนวน 4 เครื่อง สามารถสูบน้ำได้สูงสุด 100 ลบ.ม./วินาที ควบคุมการสูบน้ำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ลงสู่ทะเลได้ สูงสุดวันละ 90,000 ลบ.ม. มีสถานีไฟฟ้าย่อย ขนาด 115  เควี ของตนเอง มีระบบควบคุมระยะไกลในการเปิดปิดประตูระบายน้ำคลองย่อยอีก 22 คลอง และควบคุมการทำงานของเครื่องสูบ ติดตั้งโทรมาตรอุทกวิทยา รายงานข้อมูลด้วยจีพีอาร์เอส มูลค่าการก่อสร้าง 8,700 ล้านบาท
                 เพื่ออธิบายให้เห็นประสิทธิภาพโครงการ นายช่างชลประทานท่านหนึ่ง ขยายความว่า คนในวงการเรียกสถานี 100 คิว เพราะได้วินาทีละ 100 ลบ.ม. โดยเครื่องสูบเพียงเครื่องเดียว สูบน้ำได้เท่ากับสถานีสูบน้ำคลองด่าน ที่มีเครื่องสูบถึง 8 เครื่อง โครงการนี้ ทำให้ปัญหาการเสียพื้นที่รับน้ำเพื่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2 หมื่นไร่ หมดไป และช่วยให้สนามบินมีความเสี่ยงน้ำท่วมน้อยลงเยอะ
                  คนที่เคยกังวลหรือนินทาว่าร้าย เกรงจะมีการสูบน้ำออกจากสนามบินมาท่วมบ้าน หรือบางรายหาว่าเป็นตัวการทำให้น้ำท่วมคงต้องถอนคำพูดกันแล้วแต่จากการตรวจสภาพการระบายน้ำ กลับพบว่าที่ลำคลองหน้าสถานีสูบน้ำทุกแห่ง ระดับน้ำต่ำกว่าระดับทะเลปานกลางหรือค่าปกติ ถึง 30 ซม. ทั้งที่หลายแห่งกำลังเผชิญสภาพน้ำท่วม โดยเฉพาะย่านหนองจอกอันเป็นเขตใกล้เคียงพื้นที่ระบายน้ำของสถานีสูบน้ำ
เราสูบทุกวัน ติดต่อกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เพื่อพร่องน้ำ รอให้น้ำเหนือมา ก็ยังไม่มาสักทีเจ้าหน้าที่ประจำสถานีทุกแห่งบอกตรงกันถามไปที่กรมชลประทาน หลายคนก็ไม่เข้าใจว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ที่สุดก็มีคำตอบจาก ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชล ประทาน ที่ไม่มีน้ำให้สูบลงทะเล เพราะน้ำจากตอนเหนือไปไม่ทัน เนื่องจากพื้นที่จากเขตลาดกระบัง ถึงชายทะเลมีความลาดชันน้อย ทางกรมชลประทานพยายามใช้ระบบไซฟอนหรือกาลักน้ำช่วยผลักดันแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผลนัก
ทางด้านสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพ มหานคร มีคำอธิบายว่า  น้ำเหนือที่มาทางด้านตะวันออก ผ่านเขตหนองจอก ลาดกระบัง มีทางระบายได้ 2 สาย โดยสายแรกมาทางคลองสิบสาม เข้าคลองแสนแสบ คลองลำปลาทิว คลองนครเนื่องเขต ไปทางท่าไข่ ท่าถั่ว ลงสู่แม่น้ำบางปะกง อีกเส้นทาง มาตามคลองลำปลาทิว ถึงคลองบางโฉลง ย่านสุวรรณภูมิ คลองจระเข้ใหญ่ คลองสำโรง สู่คลองตัดใหม่ในโครงการชลหารพิจิตร สู่ระบบสูบน้ำ 100 คิว
              นอกนั้นเป็นการระบายลงสู่เส้นทางย่อย เช่นคลองด่าน การที่ไม่มีน้ำเข้าสู่สถานีสูบน้ำชายทะเล มีคำอธิบายของเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำว่า เป็นเพราะความลาดของคลองมีไม่มากจึงไหลช้า ครั้นจะปล่อยออกทางจังหวัดฉะเชิงเทรามากก็จะมีปัญหากับชุมชน จึงพยายามระบายผ่านคลองลำปลาทิว ลงทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่ส่วนใหญ่ กทม. จะพยายามให้ลงทางคลองแสนแสบ
ฟังจากทุกฝ่าย นำมาเทียบเคียงกับข้อเท็จจริงสิ่งที่เห็นด้วยตาแล้ว ก็ยังเข้าใจไม่ได้ ว่า เหตุใด ทั้งที่มีระบบซึ่งลงทุนไว้มหาศาล จึงไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ปล่อยให้คนส่วนหนึ่งจมน้ำอยู่ได้  
            ผมเองเป็นชาวบางพลีมาแต่กำเนิด ในสมัยก่อนน้ำในย่านนี้ท่วมทุกปี  มาระยะหลังไม่เคยท่วม นั่นเป็นนิมิตหมายที่ดีหมายถึงมีการบริหารจัดการที่ดี  ปีนี้กระแสข่าวบอกท่วมแน่นอน  ผมรอน้ำมา  3 อาทิตย์แล้วก็ยังไม่มา  หลายคนถามผมว่าไม่กลัวหรือน้ำท่วม  ผมลูกชาวน้ำครับเห็นน้ำท่วมบ้านในระดับหัวเข่ามาตั้งแต่เด็กจนชิน  ผมมั่นใจว่าน้ำที่ท่วมอยู่ ณ ปัจจุบันมันไม่ได้มาจากระดับน้ำทะเลที่ขึ้นสูง  แต่มันมาจากแม่น้ำต่างๆหลายสายที่ไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา  และเคลื่อนตัวลงสู่ระดับที่ต่ำกว่า   เพื่อออกสู่มหาสมุทรแต่โทษทีมันไม่ออกมา  บางส่วนวิ่งวนเวียนอยู่ในเมืองหลวง  บางส่วนกำลังโอบล้อมกรุงเทพมหานครไว้รอวันเวลา  อย่าเอาชีวิตประชาชนมาเป็นเครื่องเดิมพันทางการเมือง  มันไม่ได้ใจหรอกครับ
มีใครกั๊กอะไรไว้ตรงไหนหรือเปล่า??.
วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2554

     ครับจากข้อมูลด้านบนวันนี้ผมได้มีโอกาส   ออกไปทดสอบแพลอยน้ำติดเครื่องยนต์ที่ aerosoft กับ HUNTSMAN รวมใจกันสร้าง  ในการทดสอบใช้สถานที่ลำคลองสูบน้ำสุวรรณภูมิ โดยมี วิศกรจากอิตาลี่ร่วมด้วยช่วยกัน และมีผมเป็นผู้ถือท้ายเรือ  เนื่องจากลักษณะที่เป็นแพในการนำมาติดตั้งเครื่องยนต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในใช้สอยเพื่อการบรรทุก  ไม่ใช่เป็นการเคลื่อนที่เร็ว


และได้ทดลองลากแพอีกลำถือว่าใช้ได้ดีทีเดียว  อย่างน้อยก็ทุ่นแรงไปได้อีกเยอะ  ถ้าจำเป็นต้องนำแพล่องทวนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก












                 ที่ลำคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิมีนักตกปลา  มาตกปลากันเป็นจำนวนมาก  แบบไม่รู้ร้อนรู้หนาวว่าน้ำจะท่วมเมืองกับเขาเลย  ที่เห็นกำลังเย่อะอยู่     ปลาจริงๆนะครับผมกะด้วยสายตาน้ำหนักน่าจะประมาณ 3.5 กิโลกรัม  










             พอดีขับรถกำลังจะผ่านไป Mr.Lino เห็นนักตกปลาท่านหนึ่งกำลังเย่ออยู่กับปลาเลยอยากสนุกบ้าง  ให้ผมจอดรถเพื่อที่จะเข้าไปร่วมแจมด้วย  เท่ไม่เบา  เป็นปลาสวายครับ  ชิ่งหน้ายาวใช้ตะกั่วถ่วงแสดงว่าตกหน้าดิน  เอาขนมปังแผ่นร้อยเป็นพวงมาลัยในการตก









วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

aerosoft จับมือกับ HUNTSMAN รวมใจสู้ภัยน้ำท่วม


aerosoft จับมือกับ HUNTSMAN รวมใจสู้ภัยน้ำท่วม 


               บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด  ตั้งอยู่ที่ 5/4 หมู่ 1 ถ.บางนา ตราด กม. 16  ต.บางโฉลง อ. บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540   ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายรองเท้าชื่อดัง aerosoftและบริษัท ฮันทส์แมน (ประเทศไทย) จำกัด  899 หมู่ 4 นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 6 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280 ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในพื้นที่เกิดประสบอุทกภัยน้ำท่วม
                จึงได้รวมพลังผลิต แพลอยน้ำเพื่อแจกจ่ายให้กับ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม  โดยมีเป้าหมายการผลิตแพลอยน้ำจำนวนมากกว่า 200 แพ  อ่านต่อ...


             ประมวลภาพผู้บริหารฝ่ายเคมีของ  aerosoft  คือ คุณ  สุชาติ  แย้มไสว    กำลังให้กำลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา อ่านต่อ ขั้นตอนการผลิตแพลอยน้ำ







  
aerosoft เสื้อชูชีพ
             เป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่ผู้บริหารระดับสูงของ บริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด ได้เล็งเห็นความสำัคัญต่อชีวิตของผู้กำลังเดือดร้อน และหน่วยอาสาสมัคร เนื่องจากอุทกภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ จึงได้มอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำการทดลองผลิตเสื้อชูชีพ (เสื้อช่วยชีวิต) สำหรับแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน เจ้าหน้าที่สำนักข่าวช่อง3 ประจำเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ให้เกียรติเป็นพรีเซ็นเตอร์
อ่านต่อ aerosoftผลิตเสื้อชูชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย




                          วันนี้ที่ 19 ตุลาคม 2554 ผู้บริหารของ aerosoft โดยคุณ สุชาติ  แย้มไสว ผู้จัดการฝ่ายเคมี  ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของ HUNTSMAN คุณ สุรพล  ฉัตรอนันทเวช  ทำพิธีส่งมอบ แพลอยน้ำ จำนวน 30 แพ และเสื้อชูชีพ แก่กองทัพเรือไทย  โดย พลเรือตรี ประพฤติพร  อักษรมัต  เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ  ที่ 200 ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 อ่านต่อ....
       

ผบ.ทบ. ยืนยันให้ความร่วมมือรัฐบาลแก้ปัญหาน้ำท่วมเต็มที่


          พล.ม. 2, 24  ต.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวภายหลังขึ้นบินตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วมในเขต กทม.  และปริมณฑลว่า ทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ยังมีปัญหาน้ำท่วมสูงในเขตจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี จึงต้องเร่งระบายให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดปัญหาน้ำเสียจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่วนทางตอนล่างของกรุงเทพฯ ถึงปากแม่น้ำท่าจีน การระบายน้ำยังเป็นไปตามปกติ แต่เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยายังคงสูงอยู่   การระบายน้ำอาจทำได้ลำบาก
         ส่วนทางฝั่งตะวันออก ได้มีการระบายน้ำตามแนวทางที่รัฐบาลวางไว้ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นห่วงบริเวณคลอง 1 และคลอง 2 และบริเวณประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ที่ระดับน้ำสูงมาก จึงห่วงว่าจะกระทบกับเขตดอนเมืองและสายไหม ในส่วนนี้จะเร่งกำชับให้ดูแลคันกั้นน้ำให้ดีที่สุด แต่เพื่อความปลอดภัยได้มอบหมายให้กองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ร่วมกับหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศเตรียมอพยพประชาชน หากมีความจำเป็น
         พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันด้วยว่า ที่ผ่านมา กองทัพบกได้ปฏิบัติตามแนวทางที่รัฐบาลได้สั่งการมาตลอด  และการทำงานต่อจากนี้ จะช่วยทำงานและประสานกับทุกหน่วยงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยมากที่สุด.- สำนักข่าวไทย