วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

aerosoft จัดงานทำบุญเลี้ยงพระ 9 รูป และพิธีพราหมณ์บวงสรวงศาลพระพรหม ประจำปี 2554


aerosoft จัดงานทำบุญเลี้ยงพระ 9 รูป และพิธีพราหมณ์บวงสรวงศาลพระพรหม ประจำปี 2554
ตักบาตรพระสงฆ์ 9 รูป
       วันที่ 28 ธันวาคม 2554 บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด  ตั้งอยู่เลขที่ 5/4 หมู่ 1 ถนน บางนา ตราด ก.ม. 16 ตำบลบางโฉลง  อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540  เป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายรองเท้า  aerosoft  ได้จัดงานทำบุญตักบาตร. และถวายภัตตาหารเช้า. แก่พระสงฆ์ 9 รูป. หลังจากนั้น. จะเป็นพิธีพราหมณ์. ซึ่งเป็นพิธีบวงสรวงศาลพระพรหม. หรือท่านท้าวมหาพรหม. และเสด็จย่าจำปาสัก. ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าบริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด.  เป็นประเพณีที่  aerosoft ได้ยึดถือปฏิบัติมาทุกปี.

   โดย คุณจุมพล  กีรติมโนชย์  รองประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด เป็นประธานพิธีถวายภัตตาหารเช้า. แก่พระสงฆ์ 9 รูป. และพิธีบวงสรวงศาลพระพรหม. หรือท่านท้าวมหาพรหม. และเสด็จย่าจำปาสัก.


มีผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมงานบุญ







         หลังจากพระสงฆ์ 9 รูป. เจริญพระพุทธมนต์ให้ศิลให้พร. ก็เป็นพิธีขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้บวงสรวงศาลพระพรหม. และศาลเสด็จย่าจำปาสัก.





พระพรหม คือ
       พระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต เหตุการณ์สำคัญของโลกล้วนอยู่ในสายตาของพระพรหม พระพรหมคือมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสามตรีมูรติ ทรงรับฟังคำอธิษฐานของผู้ศรัทธาเสมอ ผู้บูชาพระพรหมและทำความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา

               พระพรหมในศาสนาพุทธ กับ พระพรหมในศาสนาพราหมณ์ นั้นมีรูปกายเหมือนกัน ลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่ไม่ใช่องค์เดียวกัน

           พระพรหมของพุทธ คือ คนที่ทำความดี ตั้งมั่นอยู่ใน พรหมวิหาร 4และไปเกิดเป็นพรหม ซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถเป็นพรหมได้ หากตั้งมั่นอยู่บนความมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา บนสวรรค์จึงมีพระพรหมเป็นล้านๆองค์ พระพรหมที่ชาวไทยรู้จักกันดีได้แก่ ท้าวมหาพรหม หรือ พระพรหมเอราวัณ ณ สี่แยกราชประสงค์ ท้าวพกาพรหม ท้าวกบิลพรหม
             พระพรหมของพราหมณ์-ฮินดู คือ ผู้สร้างโลก ซึ่งมีเพียงองค์เดียว แต่เรียกได้หลายพระนาม เช่น พระพรหมมา พระพรหมธาดา ท้าวจตุรมุข ประชาบดี
            การกราบไหว้สักการะเทวรูปพระพรหม หากไม่แน่ใจว่าเป็น พระพรหมของฮินดู (ผู้สร้างโลก) หรือเป็น พระพรหมของพุทธศาสนา (ผู้ทรงพรหมวิหาร) แนะนำให้สวดบูชาทั้ง 2 คติในคราวเดียวเลย จะได้ไม่สงสัยติดคาในใจ อีกทั้งยังได้ระลึกถึงพระพรหมทั้งหมดทุกองค์ ซึ่งไม่เป็นการผิดบาป เนื่องจากการสักการะเทวรูปพรหมในคติหนึ่งแล้วระลึกไปถึงอีกคติหนึ่ง จะนำมาซึ่งสิริมงคลทั้ง 2 ศาสนา (พุทธ-พราหมณ์)

คาถาบูชา

           โอม โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง พรหมธาดา มหาเอกะ ปะระมะ ปะระมัฐถะ มหาอัฐถะทิฐถะ นามัง อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุนัง ทิสวา นัยยะเนตร มะโมพุทธายะ วันทานัง สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม สัพพะสิทธิ ภะวันตุเม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น