วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

aerosoft จัดงานทำบุญเลี้ยงพระ 9 รูป และพิธีพราหมณ์บวงสรวงศาลพระพรหม ประจำปี 2554


aerosoft จัดงานทำบุญเลี้ยงพระ 9 รูป และพิธีพราหมณ์บวงสรวงศาลพระพรหม ประจำปี 2554
ตักบาตรพระสงฆ์ 9 รูป
       วันที่ 28 ธันวาคม 2554 บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด  ตั้งอยู่เลขที่ 5/4 หมู่ 1 ถนน บางนา ตราด ก.ม. 16 ตำบลบางโฉลง  อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540  เป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายรองเท้า  aerosoft  ได้จัดงานทำบุญตักบาตร. และถวายภัตตาหารเช้า. แก่พระสงฆ์ 9 รูป. หลังจากนั้น. จะเป็นพิธีพราหมณ์. ซึ่งเป็นพิธีบวงสรวงศาลพระพรหม. หรือท่านท้าวมหาพรหม. และเสด็จย่าจำปาสัก. ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าบริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด.  เป็นประเพณีที่  aerosoft ได้ยึดถือปฏิบัติมาทุกปี.

   โดย คุณจุมพล  กีรติมโนชย์  รองประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด เป็นประธานพิธีถวายภัตตาหารเช้า. แก่พระสงฆ์ 9 รูป. และพิธีบวงสรวงศาลพระพรหม. หรือท่านท้าวมหาพรหม. และเสด็จย่าจำปาสัก.


มีผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมงานบุญ







         หลังจากพระสงฆ์ 9 รูป. เจริญพระพุทธมนต์ให้ศิลให้พร. ก็เป็นพิธีขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้บวงสรวงศาลพระพรหม. และศาลเสด็จย่าจำปาสัก.





พระพรหม คือ
       พระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต เหตุการณ์สำคัญของโลกล้วนอยู่ในสายตาของพระพรหม พระพรหมคือมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสามตรีมูรติ ทรงรับฟังคำอธิษฐานของผู้ศรัทธาเสมอ ผู้บูชาพระพรหมและทำความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา

               พระพรหมในศาสนาพุทธ กับ พระพรหมในศาสนาพราหมณ์ นั้นมีรูปกายเหมือนกัน ลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่ไม่ใช่องค์เดียวกัน

           พระพรหมของพุทธ คือ คนที่ทำความดี ตั้งมั่นอยู่ใน พรหมวิหาร 4และไปเกิดเป็นพรหม ซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถเป็นพรหมได้ หากตั้งมั่นอยู่บนความมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา บนสวรรค์จึงมีพระพรหมเป็นล้านๆองค์ พระพรหมที่ชาวไทยรู้จักกันดีได้แก่ ท้าวมหาพรหม หรือ พระพรหมเอราวัณ ณ สี่แยกราชประสงค์ ท้าวพกาพรหม ท้าวกบิลพรหม
             พระพรหมของพราหมณ์-ฮินดู คือ ผู้สร้างโลก ซึ่งมีเพียงองค์เดียว แต่เรียกได้หลายพระนาม เช่น พระพรหมมา พระพรหมธาดา ท้าวจตุรมุข ประชาบดี
            การกราบไหว้สักการะเทวรูปพระพรหม หากไม่แน่ใจว่าเป็น พระพรหมของฮินดู (ผู้สร้างโลก) หรือเป็น พระพรหมของพุทธศาสนา (ผู้ทรงพรหมวิหาร) แนะนำให้สวดบูชาทั้ง 2 คติในคราวเดียวเลย จะได้ไม่สงสัยติดคาในใจ อีกทั้งยังได้ระลึกถึงพระพรหมทั้งหมดทุกองค์ ซึ่งไม่เป็นการผิดบาป เนื่องจากการสักการะเทวรูปพรหมในคติหนึ่งแล้วระลึกไปถึงอีกคติหนึ่ง จะนำมาซึ่งสิริมงคลทั้ง 2 ศาสนา (พุทธ-พราหมณ์)

คาถาบูชา

           โอม โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง พรหมธาดา มหาเอกะ ปะระมะ ปะระมัฐถะ มหาอัฐถะทิฐถะ นามัง อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุนัง ทิสวา นัยยะเนตร มะโมพุทธายะ วันทานัง สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม สัพพะสิทธิ ภะวันตุเม

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กองคาราวาน “แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม”บริจาคสิ่งของ ณ.ชุมชนวัดดอนเมือง

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 กองคาราวาน แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม”  ได้ออกเดินทางโดยรถยนต์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พร้อมด้วย คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ และ คุณสุชาติ  แย้มไสว ประธานโครงการแพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วมและตัวแทนจาก  aerosoft ,  คณะกรรมการโครงการฯและตัวแทน จาก  HUNTSMAN  พร้อมด้วยตัวแทนจาก บริษัทไบเออร์ไทย จำกัด  เพื่อบริจาคสิ่งของแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ชุมชนวัดดอนเมือง และ ชุมชนคลองเปรมประชากร ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง  หมายกำหนดการได้เลื่อนเร็วขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้  ทั้งนี้สิ่งของที่บริจาคมีดังนี้
1.  เรือโครงการ แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม     จำนวน      15     ลำ
2. เสื้อชูชีพ                                                        จำนวน   100      ตัว
3. ถุงยังชีพ                                                         จำนวน  200      ถุง
           จุดแรกที่บริจาคคือชุมชนวัดดอนเมือง  ระดับน้ำไม่สูงเท่าไหร่  มีผู้นำชุมชนเป็นผู้ประสานงานไปยังคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ กองคาราวาน แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม”  จึงได้เดินทางมาบริจาค ภาพตัวแทนจาก HUNTSMAN กำลังมอบถุงยังชีพให้กับผู้นำชุมชนวัดดอนเมืองและชาวบ้านที่มารอรับบริจาค




ภาพบริเวณใกล้ๆสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง ซึ่งอยู่ติดคลองเปรมประชากร  เห็นทีแรกผมนึกว่าตลาดน้ำดำเนินสะดวก  เพราะตามถนนสองฝั่งมีทั้งชาวบ้านใช้เรือพายสัญจรไปมา และมีเรือพ่อค้าแม่ขายต่างๆพายเรือขายสินค้าจำนวนพืชผัก รวมทั้งอาหาร  



             ระดับน้ำที่คลองเปรมประชากร  ชาวบ้านบอกว่านี่ยังดีนะ.....ที่ลดลงบ้างแล้ว  ผมเชื่อครับเพราะดูที่ผนังบ้านรอยตระไคร้น้ำยังติดผนังอยู่เลย  ชาวบ้านละแเวกนี้ใช้ถนนบริเวณสะพานเป็นที่อาศัย  เฮ้อ...ที่นี่ประเทศไทย เหนือหนาว  กลางน้ำท่วม  
ใต้ฝนกำลังตกหนัก

               จุดบริจาคที่ 2  ชุมชนคลองเปรมประชากรใกล้สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง   กองคาราวาน แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม” กองคาราวาน แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม” 
                          ทีมงานกองคาราวาน แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม” โดยคุณขวัญชัย และคุณสีดา  กำลังสาธิตการใช้เรือ
                เนื่องจากบริเวณที่สาธิตระดับน้ำไม่สูงเท่าที่ควร  ทางทีมงานจึงใช้วิธีถ่อเรือแทนพาย  แต่เอ....หรือว่าพายเรือไม่เป็น  แต่อย่างไรเสียทีมงานของเราสองคนนี้ว่ายน้ำไม่แพ้จรเข้.....เชียวนะจะบอกให้.....
                  ชาวบ้านชุมชนคลองเปรมประชากร  หลังจากชมการสาธิตเสร็จขอลองบ้าง  เอ้า.. ฮุย..เล่...ฮุย    มีหน้ามาบอกว่าพายไม่ไปเลย  จะไปได้ยังไงก็พายไม่เป็นนี่ครับ






วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯร่วมกับaerosoftและ HUNTSMAN มอบเรือครอบครัวข่าว 3

           วันที่22 พฤศจิกายน 2554  คณาจารย์  คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ร่วมกับตัวแทน aerosoft  และ HUNTSMAN มอบเรือ จากโครงการ แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม”  ณ. อาคารมาลีนนท์  คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ร่วมด้วยโก๊ะตี๋ อารามบอย  นักแสดงตลก เอกราช เก่งทุกทาง  นักบรรยายการแข่งขันฟุตบอล ได้ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก  




วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประธานโครงการ “แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม”กล่าวปิดโครงการ


           วันที่ 19 พฤศจิกายน 2554  โดยคุณสุชาติ  แย้มไสว ประธานโครงการ แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม ได้กล่าวขอบคุณผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการรวมทั้งพนักงาน  จากบริษัทต่างๆ อาทิ บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด บริษัท ฮันทส์แมน(ประเทศไทย) จำกัด  และบริษัท ไทยมิตซุยสเปเชียลตี้เคมีคอล จำกัด ที่มาร่วมแรงร่วมใจในครั้งนี้ด้วยความตั้งใจและทุ่มเทเพื่อส่วนรวม  ที่มีให้แก่ผู้กำลังประสบอุทกภัยน้ำท่วม  พร้อมกันนี้ได้จัดงานปาร์ตี้เลี้ยงขอบคุณ เป็นการปิดโครงการ
สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ ดังนี้
1.  ผลิตแพด้วยโฟม             จำนวน      60  ลำ
2.  ผลิตเรือโฟม                   จำนวน    340  ลำ
3.  ผลิตเสื้อชูชีพ                  จำนวน  1,500  ตัว
ส่วนจำนวนที่เหลือ    ทางกรมกิจการพลเรือนทหารเรือจะมารับไปบริจาค
         ปาร์ตี้แพรวมใจ ซึ่งนำทีมโดย คุณสุชาติ  แย้มไสว และสมาชิก ต่างร่วมแสดงความยินดีที่ได้ปฏิบัติภารกิจครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ถึงแม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยแต่ทุกคนก็มีรอยยิ้มให้ ซึ่งนำความปลื้มปิติยินดีมาสู่พี่น้องผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ได้รับมอบแพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม




วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา รับเรือโครงการ”แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม”


            เวลาประมาณ 12:00 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน  2554  หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา  ได้เข้ารับเรือโครงการแพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม  จำนวน  30 ลำ  และเสื้อชูชีพจำนวน  600  ตัว  เพื่อส่งมอบให้กับกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ  หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าทหารหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง  เพราะเราๆท่านๆ  ทราบแต่เพียงว่าทหารคือรั้วของชาติ”  ที่จะต้องอยู่ตามชายแดนที่คอยปกป้องอธิปไตย  แม้แต่ผมเองก็ไม่ทราบมาก่อน  เลยลองค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท  และได้ข้อมูลมาเผยแพร่ให้ทราบหรือท่านจะเข้าไปดูรายละเอียดเองก็ได้ครับ โดยคลิกที่ลิ้งค์เชื่อมโยงด้านล่าง

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
ปัจจุบันท่าน  พลเอก ดุลกฤต  รักษ์เผ่า เป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
         กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (กรป.กลาง) ในอดีต หรือ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) ได้สัมผัสกับความทุกข์ยากขาดแคลนของพี่น้องประชาชน  ในท้องถิ่นทุรกันดาร นับตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๐๕  อันเป็นวันก่อหน่วยตั้งเป็นต้นมานั้น  เราได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่เราควรทำ.........เพื่อประชาชน มาโดยตลอด ดังปรากฎเป็น ๘ แผนงานหลัก ที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารตลอดมา ได้แก่
        ๑.แผนงานสร้างเส้นทางคมนาคม  ถนนหนทางนับเป็นปัจจัยสำคัญในการนำความเจริญเข้าไปสู่ท้องถิ่น พร้อม ๆ กับการนำผลผลิต ของผู้คนออกมาสู่ตลาด อีกทั้งยังเป็นปัจจัยในการดำรงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนอย่างยั่งยืนอีกด้วย ขีดความสามารถในการสร้างเส้นทางคมนาคมของ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้ทวีความก้าวหน้าทันสมัยขึ้นมา เป็นลำดับ จากถนนลูกรังบดอัดแน่น (ชั้นทาง F ๖) ในอดีต จนมาเป็นถนนลาดยาง (ชั้นทาง F ๔ ) ในปัจจุบัน นับหมื่นกิโลเมตรที่ตัดผ่านป่าทึบ ยอดดอยสูงชัน หรือแม้หุบเหวลึกล้ำ ล้วนเป็นผลงานที่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เกิดความภาคภูมิใจทุกครั้งที่ได้เห็นรถของพี่น้องประชาชนขนพืชผักผลไม้วิ่งไปบนถนน และสะพานที่เราตั้งใจสร้างขึ้น และมอบให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของส่วนราชการในท้องถิ่น
     ๒.แผนงานส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์  ดังที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นถึงความต้องการปัจจัยในการดำรงชีพของพี่น้องประชาชนในชนบทว่า นอกจากปัจจัย ๔ แล้ว อีกประการหนึ่งก็คือ การมีอาชีพเลี้ยงตัวและครอบครัวนั้น อาชีพของประชากรส่วนใหญ่ ของไทยก็คือ อาชีพทางการเกษตร ที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ดังนั้น อีกแผนงานหนึ่งของ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ก็คือ การเกื้อกูลแก่การประกอบอาชีพทางการเกษตร ให้ได้ผลมากขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะหมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องเกษตรกรตามไปด้วย อาทิ การผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง เพื่อผสมเทียมให้แก่แม่โคพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร เพื่อให้ได้ลูกโคพันธุ์ผสมที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ, การผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดสนับสนุนเกษตรกร โรงเรียนและกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ และปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ, การจัดตั้งโครงการประมงหมู่บ้าน ประมงโรงเรียน รวมทั้งการผลิตเมล็ดพันธุ์หญ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์กล้าไม้ยืนต้น และการถ่ายทอดความรู้ ทางวิชาการเกษตรสู่พี่น้องเกษตรกร เพื่อความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ที่พอเพียงแก่การดำรงชีพ นอกจากนั้น ยังได้เริ่มดำเนินงานโครงการสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ปฏิบัติการของ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ มาตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๖ เป็นต้นมา โดยร่วมมือกับ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน มีสหกรณ์การเกษตรในความดูแลรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จำนวน ๓๕ แห่ง กระจายอยู่ ทั่วทุกภูมิภาค
            ๓.แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ   ด้วยลักษณะการประกอบอาชีพของคนไทยที่อาศัยธรรมชาติเป็นสำคัญ เป็นเหตุให้ น้ำ ถือเป็นปัจจัยหลักที่จะขาดเสียมิได้ ทั้งเพื่อการประกอบอาชีพ และเพื่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่งแม้ในปัจจุบัน ก็ยังคงมีอีกหลายพื้นที่บนผืนแผ่นดินไทย ที่เรียกได้ว่า ขาดน้ำ แผนงานนี้จึงถูกกำหนด ขึ้นมารองรับปัญหาดังกล่าว ด้วยการแก้ไขภาวะขาดน้ำดังกล่าว ทั้งโดยการขุดสระเก็บน้ำ ขุดคลองส่งน้ำ หรือสร้างฝายกั้นน้ำ สุดแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของชุมชน เอื้อต่อการประกอบอาชีพ และยังเป็นที่รองรับพันธุ์ปลาต่างๆ ที่หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ นำไปปล่อยไว้เพื่อขยายพันธุ์เป็นอาหาร สำหรับชุมชนต่อไปด้วย
       ๔.แผนงานพัฒนาชุมชนและสาธารณูปการ  แผนงานนี้เป็นไปเพื่อความเป็นระเบียบ เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นของชุมชน ที่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา คำนึงถึงเป็นประการสำคัญ ได้แก่ การสร้างถนนภายในหมู่บ้าน การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล การสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ระบบประปาภูเขา การสร้างถังเก็บน้ำฝน สร้างศาลาประชาคม ศาลาที่พักริมทาง และ สนามเด็กเล่น ซึ่งล้วนเป็นไปเพื่อการใช้ชีวิตอย่างร่มเย็น เป็นสุขของราษฎร
        ๕.แผนงานการสาธารณสุข  เป็นอีกแผนงานหนึ่งที่มุ่งกระทำเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของราษฎร ซึ่งได้แก่ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เริ่มตั้งแต่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ถูกหลักสุขอนามัย การป้องกันโรค การวางแผนครอบครัว การสร้างสถานีอนามัยให้แก่หมู่บ้านและประสานขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ ประจำสถานีอนามัย นอกจากนั้น ทุกหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ยังได้ให้บริการตรวจรักษาโรคแก่ประชาชน ณ ที่ตั้งหน่วยโดยไม่คิดมูลค่า และจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ออกไปให้บริการถึงหมู่บ้าน เพื่อบรรเทาปัญหา การขาดแคลนแพทย์ในชนบท รวมทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านสุขภาพอนามัยอีกด้วย
           ๖.แผนงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เป็นแผนงานเพื่อเพิ่มคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชน อันเป็นทรัพยากรล้ำค่าของชาติ โดยการส่งเสริมการศึกษาในโรงเรียน เช่น สร้างอาคารเรียน จัดหาอุปกรณ์การเรียน การกีฬา ทุนการศึกษา และส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียน เช่น การจัดตั้งศูนย์เยาวชน การฝึกอาชีพให้แก่เยาวชน รวมทั้งการขยายโอกาส ทางการศึกษาและฝึกอาชีพแก่ทหารกองประจำการ เพื่อใช้ประกอบอาชีพ และก้าวไปสู่การเป็นผู้นำในการ พัฒนาท้องถิ่นในอนาคต โดยไม่ละเลยที่จะเน้นให้เยาวชนและประชาชนรำลึกถึงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนศาสนาอันเป็นเครื่องนำทางไปสู่ความดีงามไปพร้อมๆกันด้วย
          ๗.แผนงานการประชาสัมพันธ์และจิตวิทยา  ในโลกแห่งความเสมอภาคในการรับรู้ข่าวสารนี้ การประชาสัมพันธ์นับเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง เป็นจริง ไม่บิดเบือน แผนงานนี้จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อตอบสนอง ความต้องการบริโภคข่าวสารของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งเพื่อเป็นการขจัดข่าวลือ และการ โฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ ตลอดจนปลูกฝังอุดมการณ์รักและเทิดทูนในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แก่ประชาชน ด้วยสื่อทุกชนิดที่หน่วยมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น หอกระจายข่าว สถานีวิทยุกระจายเสียงของหน่วย ตลอดจนการใช้สื่อบุคคล ด้วยการจัดชุดพัฒนาการเคลื่อนที่ออกไปเยี่ยมเยียน เพื่อช่วยเหลือประชาชน และรับรู้ปัญหาอุปสรรคต่างๆในแต่ละชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
           ๘.แผนงานสังคมสงเคราะห์และอื่นๆ  ความเดือดร้อนสำหรับผู้ยากไร้นั้น เกิดขึ้นได้ทุกเวลา และจะหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้น ในยามที่ต้อง ประสบภัยพิบัติ ดังนั้น แผนงานนี้จึงเป็นไปเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่เดือดร้อน ได้รับความสูญเสีย ในยามที่เกิดภัยดังกล่าวขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย ภัยแล้ง ภัยหนาว ภัยจากการสู้รบบริเวณชายแดน หรือภัยอันเกิดจากอุบัติเหตุที่ส่งผลถึงผู้คนจำนวนมาก ซึ่งการช่วยเหลือ ตามแผนงานนี้ จะกระทำในนาม ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ศบภ.นทพ.) ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติหลัก ในงานบรรเทาสาธารณภัย ของกองบัญชาการทหารสูงสุด และแม้กระทั่งในยามปกติ พี่น้องประชาชนที่ยากจน หรือเด็กนักเรียนที่ขาดแคลน ก็ถือเป็นหน้าที่ที่หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จะต้องดูแล ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้พ้นจากความทุกข์นั้นเช่นกัน
         ทั้ง ๘ แผนงาน อันเป็นแผนงานหลักในการปฏิบัติงานพัฒนาและช่วยเหลือประชาชน ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนานั้น ถือว่าได้กำหนดไว้ให้สามารถตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน ได้อย่างครอบคลุม แต่เวลา ที่ผ่านมานั้น หากปราศจาก คน ที่ตั้งใจปฏิบัติตามแผนงานนั้น ด้วยความมุ่งมั่น และกระทำด้วยความรักความห่วงใยในพี่น้องประชาชนอย่างจริงใจมาทุกยุคทุกสมัยแล้ว …..เราก็คง ไม่มีโอกาสอยู่ในความทรงจำของพี่น้องประชาชน ในฐานะ นักรบสีน้ำเงิน อย่างที่เป็นมา…. และเมื่อนั้น แผนงานใดใดก็คงไร้ค่า





วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

DAI HYUN KOREA สปอนเซอร์รายใหญ่โครงการ"แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม"


                  DAI HYUN KOREA   จากประเทศเกาหลีใต้ ผู้ร่วมบริจาค และเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนรายใหญ่ โครงการ"แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม"  โดยบริจาค  เรือ จำนวน 200 ลำ  เสื้อชูชีพ  จำนวน 1,000  ตัว  


                 ตั้งแต่เริ่มโครงการ"แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม" ทางโครงการได้มอบแพและเรือ ทั้งที่เป็นภาครัฐ มูลนิธิ เอกชน        แม้กระทั่งผู้สนับสนุนโครงการเองก็ตาม  รวมทั้งชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยมาขอรับบริจาคก็ตาม  ผมจะพยายามนำภาพและข้อมูลมาลง ณ. เว็บไซต์แห่งนี้ให้มากที่สุด  ในการดำเนินงาน ผมในฐานะผู้เขียนเว็บไซต์โครงการนี้  ซึ่งทำงานประจำที่บริษัทซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด  เป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายรองเท้า aerosoft  หน้าที่หลักดูแลเกี่ยวกับเครื่องจักร  จึงไม่ค่อยได้ออกไปยังนอกสถานที่ๆ มีการผลิตแพและเรือในโครงการเท่าที่ควร ดังนั้นข้อมูลที่มาถึงผมอาจจะล่าช้า  บางครั้งมีแต่ภาพแต่รายละเอียดยังไม่มา หากผิดพลาดหรือล่าช้าประการใด  กราบขออภัยแทนเจ้าหน้าที่และคณะทำงานโครงการ มา ณ.ที่นี้ด้วย  

ทหารเรือจากกรมกิจการพลเรือนทหารเรือมารับเรือที่โครงการและได้ถ่ายภาพ
ร่วมกับคณะกรรมการโครงการ "แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วม"

พ.ต.ต.จตุภพ  รามนัฏ สารวัตรป้องกันและปราบปราม เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจ
ภูธรบางพลี  ก็มาขอรับเรือ 1 ลำ เพื่อใช้ในงานราชการตำรวจ
ผู้ขอรับบริจาค(ซ้ายมือ)ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่โครงการ
นี่อีก 5 ลำ
ภาพนี้เป็นหนุ่มๆ สาวๆ จาก aerosoft  เห็นภาพก็รู้ว่าเหนื่อย ช่วยให้กำลังใจด้วยนะครับ