วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้าที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง



เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้าที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2555  กลุ่มพนักงาน aerosoft  ได้รวมกลุ่มกันประมาณ 5 6  ครอบครัว  นำข้าวปลาอาหาร, ขนมหวานคาว, รองเท้า aerosoft ( ซื้อจากบริษัทฯ ไปเอง ) และเครื่องสังฆทานต่างๆ    ไปทำบุญที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง  หลังจากนั้นเป็นการเลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กกำพร้าที่ทางวัดได้อุปการะไว้  นับเป็นครั้งที่ 2  ที่ได้เดินทางมาบริจาคสิ่งของ   และเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้าที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง







และเป็นที่น่าชื่นชมที่วันนี้มีกลุ่มจากบริษัท บีซีโพรีเมอร์ส มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท เคบี ชิปปิ้ง เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท บลิซคอนสตรัคชั่น จำกัด  โดยการนำของประธานกรรมการ, กรรมการผู้จัดการ และพนักงาน  ได้นำสังฆทานและจตุปัจจัยทำบุญถวายพระแล้ว ยังได้บริจาคสิ่งของต่างๆ อาทิเครื่องนุ่งห่ม, เวชภัณฑ์, อุปกรณ์กีฬาก็มีโต๊ะปิงปองและอุปกรณ์ต่างๆ  เป็นต้น  ยังๆ ไม่หมด ทั้งนี้ยังได้มอบ เช็คเป็นเงิน 106,389.00 บาท  เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กๆ ที่วัดตาลเจ็ดช่อ อ่างทอง

ส่วนทางด้านโรงเรียนสอนตัดผมแห่งหนึ่ง (ขออภัยผมจำชื่อไม่ได้) ได้นำทีม นักเรียนช่างตัดผม  มาตัดผม ฟรี ให้แก่เด็กๆ 
เป็นภาพน้ำในแม่น้ำบริเวณข้างวัดตาลเจ็ดช่อ  ที่ไหลผ่านหน้าวัดอย่างเชี่ยวกรากและน่ากลัว        เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยได้ถูกมรสุมจากประเทศจีนพัดผ่าน     ทำให้มีฝนฟ้าตกกระหน่ำอย่างรุนแรง       หลายจังหวัดต้องประกาศเตือนภัย  หลายฝ่ายเกรงว่าจะเกิดมหาอุทกภัยเหมือนปี 2554  ที่ผ่านมา  ที่วัดตาลเจ็ดช่อ      เป็นหนึ่งสถานที่ๆ ประสบภัยวิบัติ มหาอุทกภัยครั้งใหญ่   
ส่วนภาพนี้ผมถ่ายที่บริเวณหน้าหมู่บ้านรัชธานี 8  (ถ่ายจากมุมระเบียงบ้านของผมเอง) หมู่ 1 ต.บางโฉลง อ. บางพลี จ. สมุทรปราการ  ซึ่งชาวบ้านย่านนี้นอกจากจะมีอาชีพทำนาแล้ว ปัจจุบันนิยมหันมาเลี้ยงปลา  เพราะรายได้ดีกว่าทำนา  จะเห็นว่าน้ำในบ่อแห้งสนิท  เนื่องจากวิดบ่อและนำปลาไปขาย  ก่อนที่น้ำเหนือจะมาเป็นการป้องกันความเสียหาย   ถ้าเกิดน้ำท่วมขึ้นมา  ที่อื่นๆ ก็เหมือนกัน  

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวคิดการซ่อมบำรุงกับการผลิต

แนวคิดการซ่อมบำรุงกับการผลิต
ส่วนหนึ่งที่ผมตั้งใจนำเสนอบทความเกี่ยวกับการบำรุงรักษา  เพราะผมเองก็มีหน้าที่ในการบำรุงรักษา จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมได้ใช้ชีวิตคลุกคลีกับเครื่องจักรมามากกว่าครึ่งชีวิตของผม ในหลายๆ บริษัท ปัจจุบันก็ยังคงเป็นช่างซ่อมบำรุง 
ซึ่งผู้บริหาร และฝ่ายผลิต  ในหลายๆ บริษัท  นอกจากจะใส่ใจในเรื่องของการผลิตให้ได้เป้าหมายและมีคุณภาพแล้ว  การจัดการเรื่องคน กับเครื่องจักรก็สำคัญไม่น้อย  บริษัทในวงการอุตสาหกรรมโดยทั่วไป มักจะเน้นการซ่อมบำรุงในลักษณะ Preventive Maintenance  แต่จะมีไม่กี่บริษัท ที่ยังใช้ระบบ Break down Maintenance  อยู่ความหมายก็คือ การซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุดและหยุดโดยฉุกเฉิน วิธีการนี้เป็นวิธีการดั้งเดิมในการบำรุงรักษา ที่เราไม่ทราบสาเหตุของการสูญเสีย  ซึ่งอาจจะหยุดเนื่องจากอุปกรณ์เครื่องจักรชำรุดเพราะผ่านการใช้งานมานาน  หรืออาจจะชำรุดเสียหายจากผู้ใช้งานเอง  เนื่องจากใช้งานไม่ถูกวิธี หรือใช้งานไม่เป็น
ปัญหาดังกล่าวของบางบริษัท เป็นเพราะผู้บริหารและฝ่ายผลิต ไปใส่ใจในเรื่องของ Output (ยอดการผลิต เป้าได้ นั่นหมายถึง Active Money ) โดยไม่คำนึงถึงการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร จะเสียหายอย่างไร หรือสกปรกเพียงใด และไม่เคยสนใจที่จะทำความสะอาด  หรือไม่มีการพัฒนาขีดความรู้ความสามารถของบุคลากรในหน่วยงาน  ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นตามเทคโนโลยีที่ใช้ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็เป็นหน้าที่ของช่างซ่อมบำรุง ที่จะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขให้เครื่องจักรกลับมาใช้งานได้ตามปรกติ ในภาวะที่รีบด่วน และเร่งรีบ  หรืองานที่ผลิตออกมาคุณภาพไม่ดี  เสีย  ก็โทษปี่โทษกลองไปโน่น  แต่ไม่เคยโทษตัวเองเลย
ในตำราพิชัยสงครามของ ซุนวู ได้กล่าวไว้ว่าในการทำสงครามนั้นให้ดูที่กองทัพนั้นว่า กองทัพใดมี ทหารกล้าหาญและระเบียบวินัยหรือไม่ และฝึกทหารดีหรือไม่ เป็นสำคัญ เพราะกองทัพนั้นจะรบได้ชัยชนะหรือไม่ ให้ดูใน 2 ข้อนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญ เปรียบในกับการธุรกิจได้เช่นกัน สิ่งที่จะบ่งบอกว่าองค์กรธุรกิจนั้น จะเจริญเติบโตและก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น องค์ประกอบที่สำคัญก็คือ คนเช่นเดียวกัน
ธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้ดีหรือไม่ หรือธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับบุคลากรหรือคนในองค์กร เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน คนทำให้ดีก็ได้ หรือจะทำให้เสียก็ได้ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ล้ำค่า เป็นหัวใจของทุกองค์กร องค์กรจึงต้องมีคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ความสามารถ และมีความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในองค์กรมากๆ จึงจะสามารถนำพาองค์กรหรือบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้
                และสุดท้ายผมจึงขอฝากแนวความคิด หรือเสียงสะท้อนกลับ  ในฐานะช่างซ่อมบำรุงคนหนึ่ง   มายังท่านทั้งหลายที่เป็นนักบริหาร
Ø  Preventive Maintenance         คืออะไร?
Ø  Break down Maintenance     คืออะไร?

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บริษัทซัมมิทจัดทำกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี2555 ให้กับพนักงาน



บริษัทซัมมิทจัดทำกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี2555 ให้กับพนักงาน
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2555 บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด  ได้มีความห่วงใยในสุขภาพของพนักงาน จึงได้จัดทำกิจกรรม ตรวจสุขภาพประจำปี2555 ให้แก่พนักงานของบริษัทฯ  ตามแผนงานความปลอดภัย มาตรา  ๑๐๗  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ 
กำหนดการตรวจสุขภาพ พนักงาน ประจำปี 2555  ในวันเสาร์ ที่ 18 สิงหาคม 2555 เวลา 08: 00 น. - 17: 00 น.  โดยศูนย์ตรวจวิเคราะห์และวิจัยทางการแพทย์  บริษัท ไลฟ? ไดแอ็ก จำกัด โปรแกรมการตรวจสุขภาพ มี 5 รายการดังนี้
1.  ตรวจทั่วไปโดยแพทย์
2.  การวัดดัชนีมวลกาย
3.  ตรวจวัดสายตา สั้น ยาว เอียง และบอดสี
4.  ตรวจสมรรถภาพกล้ามเนื้อมือ
5. เอ็กซเรย์ทรวงอกระบบดิจิตอล
และยังมีรายการตรวจเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจ  ทั้งนี้การตรวจสุขภาพเพิ่มเติมต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง  แต่ราคาไม่สูงมากประมาณชนิดละ 30 - 200  บาท  เท่านั้นเอง  ทำให้มีพนักงานขอรับบริการตรวจสุขภาเพิ่มเติมกันเป็นจำนวนมากเลยที่เดียว  และได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารและพนักงานเป็นอย่างดี ไปดูภาพบรรยากาศภายในงานว่าเป็นอย่างไรกันล้าง 


บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง
และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๗
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลักการ
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง  และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน
เหตุผล
โดยที่มาตรา  ๑๐๗  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑  บัญญัติให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง  และส่งผลการตรวจแก่พนักงานแรงงาน  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง
และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๗
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๐๗  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑  อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา  ๒๙  ประกอบกับมาตรา  ๓๑  มาตรา  ๓๕  มาตรา ๔๘  และมาตรา  ๕๐  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามทบบัญญัติแห่งกฎหมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงได้ ดังต่อไปนี้
                 ข้อ ๑  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                 ข้อ ๒  ในกฎกระทรวงนี้
                “การตรวจสุขภาพ”  หมายความว่า  การตรวจร่างกายและสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม  และผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างอันอาจเกิดจากการทำงาน
                “งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง”  หมายความว่า  งานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับ
                (๑)  สารเคมีอันตรายตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                (๒)  จุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส  แบคทีเรีย  รา  หรือสารชีวภาพอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                (๓)  กัมมันตภาพรังสี
                (๔)  ความร้อน  ความเย็น  ความสั่นสะเทือน  ความกดดันบรรยากาศ  แสง  เสียง  หรือสภาพแวดล้อมอื่นที่อาจเป็นอันตราย  ทั้งนี้  ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
 หมวด ๑
การตรวจสุขภาพ
-------------------------------
                 ข้อ ๓  ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์  หรือที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์  หรือที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด  โดยตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน  และตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
                ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานที่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงนั้น  มีความจำเป็นต้องตรวจสุขภาพตามระยะเวลาอื่น  ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามระยะเวลานั้น
                ในกรณีนายจ้างเปลี่ยนงานของลูกจ้างที่มีอันตรายแตกต่างไปจากเดิม  ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างทุกครั้งให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนงาน
                 ข้อ ๔  ในกรณีที่ลูกจ้างหยุดงานสามวันทำงานต่อต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใด ๆ นายจ้างอาจขอความเห็นจากแพทย์ผู้ทำการรักษา  หรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการหรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีกก็ได้

หมวด ๒
การบันทึกผล การแจ้ง และการส่งผลการตรวจสุขภาพ
-----------------------------------
                 ข้อ ๕  ในการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓ ให้แพทย์ผู้ทำการตรวจบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพ  โดยให้ระบุความเห็นของแพทย์ที่บ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของลูกจ้างที่มีผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายของลูกจ้าง  พร้อมทั้งลงลายมือชื่อแพทย์ผู้ทำการตรวจหรือให้ความเห็นในวันที่ทำการตรวจหรือให้ความเห็นนั้น
                 ข้อ ๖  ให้นายจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด  และให้นายจ้างบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างตามผลการตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ
                 ข้อ ๗  ให้นายจ้างเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓  รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง  และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาโดยให้เก็บไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย  เว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับโรคหรืออันตรายอย่างใดต่อสุขภาพของลูกจ้าง  แม้จะพ้นเวลาที่กำหนดให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  ทั้งนี้  มิให้นายจ้างนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางที่เป็นโทษแก่ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร 
                ข้อ ๘  ให้นายจ้างแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้
                (๑)  กรณีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติ  ให้แจ้งแก่ลูกจ้างผู้นั้นภายในระยะเวลาสามวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ
                (๒)  กรณีผลการตรวจสุขภาพปกติ  ให้แจ้งแก่ลูกจ้างผู้นั้นภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ
                ข้อ ๙  ในกรณีที่พบความผิดปกติของลูกจ้าง  หรือลูกจ้างมีอาการหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที  และทำการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน
                ให้นายจ้างส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย  การให้การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย
                 ข้อ ๑๐  ถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของราชการหรือที่ราชการยอมรับ  แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้  ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควร  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ
                 ข้อ ๑๑  ให้นายจ้างมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง

ให้ไว้    วันที่  ๒๙  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

( นางอุไรวรรณ  เทียนทอง )
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ฉบับกฤษฎีกา  เล่ม  ๑๒๒  ตอนที่  ๔ ก  วันที่  ๑๓  มกราคม  ๒๕๔๘ 

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิถีความสุขที่แตกต่างของมนุษย์


ความสุขที่แตกต่างของมนุษย์
ความสุขของมนุษย์เรานั้น มีความแตกต่างกันไปตามสันดาน และความชอบ ความเชื่อ และความแสวงหา หลายๆ คนพยายามขวนขวาย- ไขว้คว้า ให้ได้มา และก้าวเดินไปสู่เส้นทางที่ตนเชื่อว่าเป็นความสุข .... เลือกที่จะสุขแบบไหนก็แล้วแต่ใจปรารถนาเถอะแต่อย่าสนองความสุข-ความพึงพอใจของตนบนความทุกข์ของผู้อื่นละกัน... เพราะบาปกรรมจะสนองกลับ.....แทนที่จะสุข หรือสุขได้เพียงแค่ชั่วครู่-ชั่วยาม  ความทุกข์ก็จะมาเยือนในไม่ช้านาน
บางคน
               สุขกับการทำงาน
               สุขกับการศึกษาเรียนรู้
               สุขกับธรรมชาติ ที่สดใส  สวยงาม
               สุขกับการได้ชื่นชมมิติแห่งความงดงามอันสุนทรีย์ของศิลปะ
               สุขกับการฟังเสียงไพเราะของเพลง  และดนตรี
               สุขกับการอ่านหนังสือนวนิยาย หรือหนังสือที่ชื่นชอบ
               สุขกับการเล่นกีฬา  บริหารร่างกาย 
               สุขกับการผจญภัย ท้าทาย  ตื่นเต้น  เร้าใจ  กับสิ่งลึกลับ-ซับซ้อน
               สุขกับการแต่งตัว  สวยงาม  เพียบพร้อมไปด้วย Accessory
               สุขกับการได้อยู่กับคนที่เรารัก  ท่ามกลางบรรยากาศอันอบอุ่น
               สุขกับการท่องเที่ยว ไปสถานที่ต่างๆ
               สุขกับการสรรหาอาหารอร่อยๆ รับประทาน                    

แต่มีคนบางประเภท... 
               สุขกับการนินทา  สอดรู้เรื่องของผู้อื่น  แบบสนุกปาก
              สุขกับหัวโขน ที่แบกไว้บนศรีษะ อย่างภาคภูมิใจ  ( เกียรติยศและศักดิ์ศรี)
               สุขกับอำนาจ  วาสนาที่คิดว่าอยู่เหนือผู้อื่น ...(วางท่าข่มไปเรื่อยๆ )
               สุขกับการเอามือล้วงกระเป๋ากางเกง 2 ข้าง ( ระวังหกล้มไปแล้วไม่มีมือค้ำยัน ปากจะแตก)
               สุขกับการปั้นหน้า  ประจบสอพลอ โดยไม่เคอะเขิน
               สุขกับการหลอกตนเองไปวันๆ กับเปลือก- สิ่งจอมปลอมที่ไม่จีรังยั่งยืน
               สุขกับการรับฟังคำยกยอ-ปอปั้น  แม้จะตระหนักดีว่าเป็นเรื่องจริงไม่กี่เปอร์เซ็นต์
               สุขกับการเอารัด-เอาเปรียบผู้อื่นในสังคม  โดยไม่ละอายใจ

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัดตาลเจ็ดช่อ จ.อ่างทอง


วัดตาลเจ็ดช่อ จ.อ่างทอง
วันแม่ 12 สิงหาคม 2555  เป็นวันดี  ได้พาครอบครัวไปทำบุญถวายผ้าป่าสามัคคี และเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้าที่วัดตาลเจ็ดช่อ ซึ่งตั้งอยู่หมู่ 1 บ้านตาลเจ็ดช่อ ตำบลตลาดกรวด อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง 14000 วัดตาลเจ็ดช่อ  เป็นหนึ่งในวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม เกือบทั่วประเทศ เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ดูจากคราบตะไคร่น้ำที่จับผนังอาคารแล้วเข้าไปยืนเทียบดู  ผมสูง 172  เซนติเมตร แต่คราบตะไคร่น้ำสูงกว่าหัวผมประมาณ 30 เซนติเมตร  เท่ากับระดับจากพื้นดินที่ผมยืนอยู่สูงขึ้นมา 2 เมตรที่น้ำท่วม  ในการที่ได้มาทำบุญในครั้งนี้ผมเห็นภาพแล้วซึ้ง..และสลดใจกับสังคม  อย่างไรก็ขอขอบคุณ คุณสมศรี ดำหริ พนักงาน aerosoft และคุณมานพ ดำหริ ที่ได้ชวนมาในครั้งนี้ ชาว aerosoft  มากันหลายคนครับแต่ผมจะไม่บอกมีใครบ้าง ดูภาพแล้วกัน  แต่อยากฝากถึงผู้บริหารของบริษัทฯ หรือคณะกรรมการ แพรวมใจสู้ภัยน้ำท่วมไว้พิจารณา  นี่ก็ฤดูฝน ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในปีนี้ว้พิจารณา้ภัยน้ำท่วมะไม่บอกมีใครบ้าง
ประวัติของวัด

เป็นวัดโบราณที่มีมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา ปัจจุบันมีการซ่อมแซมจนกลายเป็นของใหม่เกือบทั้งวัด มีภาพเขียนจิตรกรรมตอนพระพุทธเจ้าถูกพญามารมาท้าทายก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ และภาพพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

วัดตาลเจ็ดช่อ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัดอ่างทอง โดยมีพระครูพิบูล พัฒนพิมล เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระนักพัฒนาตัวอย่าง ก่อนหน้านี้โรงเรียนแห่งนี้เกือบโดนยุบเพราะ จำนวนนักเรียนของที่นี่มีน้อยเกินและถ้าหากโรงเรียนถูกยุบ เด็กที่อยู่แถวนั้นก็จะลำบากเป็นอย่างยิ่งในการเล่าเรียน เพราะมีพ่อ แม่ยากจน อีกทั้งเด็กบางคนก็กำพร้า ซึ่งเจ้าอาวาสได้รับเด็กกำพร้าและยากจนทั่วทุกจังหวัด ให้มาอยู่ในการอุปการะ ส่วนมากจะเป็นเด็กชาวเขาจากทางเหนือ ตอนนี้มีจำนวนเกือบสามร้อยชีวิต ทำให้เด็กที่กำพร้าและยากจนได้มีโอกาสได้รับการศึกษา ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นทางวัดยังสร้างโรงนอนให้กับเด็กๆอีกด้วย







นอกจากนี้วัดตาลเจ็ดช่อยังมีพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง  






วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คู่มือการตั้งค่า Eliwell Temperature Control IC 901


คู่มือการตั้งค่า Eliwell Temperature  Control  IC 901
                Eliwell Temperature  Control  IC 901 เป็นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิได้ทั้งควบคุมความร้อนและความเย็น  ส่วนมากจะมีใช้ในเครื่องจักรกลในโรงงาน  หรือแม้แต่ตู้เย็น, ตู้แช่, แอร์คอนดิชั่น Air Condition บางยี่ห้อก็มีใช้ ส่วนคู่มือการใช้ส่วนมากที่มากับอุปกรณ์จะเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ ไม่มีภาษาไทย  ผมพยายามหาข้อมูลที่เป็นภาษาไทยจากอินเตอร์เน็ทก็ยังไม่พบ  ด้วยความจำเป็นที่ผมจะต้องสอนลูกน้องเพื่อให้สามารถเข้าใจ และนำไปสู่การใช้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  จึงได้แปลและเรียบเรียงตามความเข้าใจของผมและข้อมูลนี้น่าจะเป็นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อใครอีกหลายคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย 

การตั้งค่า

หน้าที่การทำงานของปุ่มกดต่างๆ
ปุ่ม          Up          =             สำหรับเลื่อนดูเมนูขึ้นด้านบน และเพิ่มค่าของพารามิเตอร์
ปุ่ม          Down   =             สำหรับเลื่อนดูเมนูลงด้านล่าง และลดค่าของพารามิเตอร์
ปุ่ม          Fnc        =             สำหรับออกจากเมนู
ปุ่ม          Set         =             สำหรับดูค่า/ ตั้งค่าพารามิเตอร์ และ Set Point, ยืนยันค่าพารามิเตอร์
การแสดงค่าและการแก้ไขค่า Set  Point
                กดปุ่ม Set  2 ครั้ง (กดปล่อย) เครื่องจะแสดงค่าอุณหภูมิ Temperature  ที่ได้ตั้งค่าไว้  เมื่อต้องการเปลี่ยนค่า ให้กดปุ่ม Up/Down  เลือกค่าตามที่ต้องการ  ภายในเวลา 15  วินาที ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหว  หน้าจอจะกลับเข้าสู่โหมดโชว์อุณหภูมิปกติ (Display
การเข้าโปรแกรมเมนู Programming Menu
1.       เข้าสู่โปรแกรมโดยกดปุ่ม Set  ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที หน้าจอจะเปลี่ยน โฟล์เดอร์แรกจะโชว์
2.       กดปุ่ม Up/Down เพื่อหาโฟล์เดอร์ที่ต้องการตั้งค่า
3.       กดปุ่ม Set เพื่อโปรแกรมค่าพารามิเตอร์ในโฟล์เดอร์นั้นๆ
4.       กดปุ่ม Up/Down เพื่อเลื่อนหาค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการ
5.       กดปุ่ม Set เพื่อเข้าสู่พารามิเตอร์นั้นๆ และเปลี่ยนโดยกดปุ่ม Up/Down
6.       ยืนยันค่าพารามิเตอร์โดย กดปุ่ม Set
โหมดพารามิเตอร์                                            รายละเอียด
DiF                        ตั้งค่าความแตกต่างของอุณหภูมิตัด/ต่อ คอมเพรสเซอร์ Compressure
HSE                      ตั้งค่าสูงสุดของอุณหภูมิ Maximum Temperature Set Piont
LSE                      ตั้งค่าสูงสุดของอุณหภูมิ Minimum Temperature Set Piont
HC                         เลือกชนิดการทำงาน H = ความร้อน C = ความเย็น
Ont                        เวลาในการทำงานของคอมเพรสเซอร์ Compressure ขณะที่สาย Thermocouple เสีย
Ofi                         เวลาในการหยุดของคอมเพรสเซอร์ Compressure ขณะที่สาย Thermocouple เสีย
dOn                       หน่วงเวลาการทำงานคอมเพรสเซอร์ เมื่อเริ่มเดินครื่อง
dOf                        หน่วงเวลาการทำงานคอมเพรสเซอร์ หลังหยุดครื่อง
dbi                         หน่วงเวลาการทำงานคอมเพรสเซอร์ ระหว่างเริ่มเดินครื่องแต่ละครั้ง
OdO                      หน่วงเวลาการทำงานของรีเลย์ Output Relay
LOC                     กำหนดการล็อคคีย์ n = ไม่ล็อค y = ล็อค
PA1                       กำหนดรหัสผ่าน เพื่อป้องกันการแก้ไขพารามิเตอร์
CA1                      ใช้ปรับเพื่อชดเชยค่าความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิ ในกรณีค่าไม่ตรงจาดการสอบเทียบ
dro                         กำหนดหน่วยของการแสดงผล Display  0 = °C,  1 = °F
HOO                     เลือกชนิดของสาย Thermocouple  0 = PTC, 1 = NTC